เว็บนี้ผลิตขึ้นเพื่อรวบรวมความรู้ทางประวัติศาสตร์ เหมาะสำหรับใช้เพื่อศึกษาสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่มีใจรักประวัติศาสตร์
วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
เพลงกระตุ้นจิตสำนึก
เพลง : ทรัพย์สินคนเก่า
ศิลปิน : พุ่มพวง ดวงจันทร์
เนื้อเพลง : สมัยคนเก่าที่เราว่าโง่ ท่านยังสร้างเมืองใหญ่โตให้หลานลูกอยู่สบาย แล้วเราทายาทที่บอกฉลาดเหลือหลายมีบ้างไหมสักราย สร้างความหมายเหมือนคนพวกนี้คอยจ้องโกยกอบทั้งฉ้อทั้งติ ร่ำรวยกันจนสุดฤทธิ์ พิชิตอันดับเศรษฐี ทรัพยากรโดนกร่อน จนเกือบไม่มีต้นไม้แร่ใต้นที ขุนเขาชีวีก้อโดนทำลายทุกเม็ดดินกรวด ยายทวด ตาปู่พลีร่างพลีเลือดราดปูปนอยู่ทุกเม็ดกรวดทรายใต้แผ่นดินนี้ที่มีสินทรัพย์มากมายเราขุดเราโค่นไปขายเหมือนเชือนเนื้อกายไถบรรพกาลไม่เติมไม่ต่อเห็นมีเพียงตัด สร้างความร่ำรวยทางลัดจ้องนักพวกพลัดกันผลาญ ท่านรวยพร้อมสรรพจากทรัพย์คนโง่โบราณ ดอกไม้ซื้อใส่ในพาน บูชาวิญญาณ ท่านไหมสักช่อ
พระราชนิพนธ์ ไตรภูมิกถา
ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกสมัยกรุงสุโขทัยนับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย เป็นพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาลิไทย เป็นวรรณคดีไทยที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน เพราะได้รวบรวมเอาคติความเชื่อทุกแง่ทุกมุมของทุกชนชั้นหลายเผ่าพันธุ์มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวให้ผู้อ่านผู้ฟังยำเกรงในการกระทำบาปทุจริต และเกิดความปิติยินดีในการทำบุญทำกุศล อาจหาญมุ่งมั่นในการกระทำคุณงามความดี พระมหาธรรมราชาลิไทย มีพระปรีชารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาอนุฏีกา และปกรณ์พิเศษต่าง ๆ พระองค์ยังเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์จนถึงขั้นทรงบัญญัติคัมภีร์ศาสตราคมเป็นปฐมธรรมเนียมสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ พระยาลิไทย อุปราชผู้ครองนครศรีสัชนาลัย ได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิกถาขึ้น มีสาระสำคัญ คือ ทรงพรรณาถึงเรื่องการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว
กามภูมิ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ อบายภูมิ และสุคติภูมิ
อบายภูมิ ยังแบ่งออกเป็นสี่ภูมิได้แก่ นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสูรกายภูมิ
นรกภูมิ เป็นที่ตั้งของสัตว์ที่ทำบาป ต้องไปรับทัณฑ์ทรมานนานาประการ แบ่งออกเป็นขุมใหญ่ ๆ ได้ แปดขุมด้วยกัน คือ
- สัญชีพนรก มีอายุ ๕๐๐ ปี นรก (๑ วันเท่ากับ ๙ ล้านปีของมนุษย์)
- กาฬสุตตนรก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
- สังฆาฏนรก มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๑๔๕ ล้านปีของมนุษย์)
- โรรุวะนรก มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๕๗๖ ล้านปีของมนุษย์)
- มหาโรรุวะนรก มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๒,๓๐๔ ล้านปีของมนุษย์)
- ตาปนรก มีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากัย ๙,๒๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
- มหาตาปนรก มีอายุยาวนานนับไม่ถ้วน
- อวีจีนรก หรือ อเวจีนรก มีอายุนับได้กัลป์หนึ่ง
ในแต่ละนรกยังมีนรกบริวาร เช่น นรกขุมที่ชื่อโลหสิมพลี เป็นนรกบริวารของสัญชีพนรก ผู้ที่เป็นชู้กับสามีหรือภริยาผู้อื่น จามาตกนรกขุมนี้ จะถูกนายนิรบาลไล่ต้อนให้ขึ้นต้นงิ้วที่สูงต้นละหนึ่งโยชน์ มีหนามเป็นเหล็กร้อนจนเป็นสีแดงมีเปลวไฟลุกโชนยาว ๑๖ นิ้ว ชายหญิงที่เป็นชู้กันต้องปีนขึ้นลง โดยมีนายนิรบาลเอาหอกแหลมทิ่มแทงให้ขึ้นลงวนเวียนอยู่เช่นนี้นับร้อยปีนรก
สำหรับผู้ที่ทำบาป แต่ไม่หนักพอที่จะตกนรก ก็ไปเกิดในที่อันหาความเจริญมิได้ อื่น ๆ เช่น เกิดเป็นเปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน พวกที่พ้นโทษจากนรกแล้วยังมีเศษบาปติดอยู่ก็ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสูรกายบ้าง เป็นมนุษย์ที่ทุพพลภาพพิกลพิการ ตามความหนักเบาของบาปที่ตนได้ทำไว้
สุคติภูมิ เป็นส่วนของกามาพจรภูมิ หรือ กามสุคติภูมิ แบ่งออกเป็นเจ็ดชั้น คือ มนุษย์ภูมิ สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ สวรรค์ชั้นตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์ - ไตรตรึงษ์) สวรรค์ชั้นยามาภูมิ สวรรค์ชั้นตุสิตาภูมิ (ดุสิต) สวรรค์ชั้นนิมมานรดีภูมิ และสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ
กามาพจรภูมิทั้งเจ็ดชั้น เป็นที่ตั้งอันเต็มไปด้วยกาม เป็นที่ท่องเที่ยวของสัตว์ที่ลุ่มหลงอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอารมณ์อันพึงปรารถนา เมื่อรวมกับอบายภูมิอีกสี่ชั้นเรียกว่า กามภูมิสิบเอ็ดชั้น
รูปภูมิ หรือรูปาวจรภูมิ ได้แก่ รูปพรหมสิบหกชั้น เริ่มตั้งแต่พรหมปริสัชชาภูมิ ที่อยู่สูงกว่าสวรรค์ชั้นหก คือ ปรนิมมิตวสวัตดี มากจนนับระยะทางไม่ได้ ระยะทางดังกล่าวอุปมาไว้ว่า สมมติมีหินก้อนใหญ่เท่าโลหะปราสาทในลังกาทวีป หินก้อนนี้ทิ้งลงมาจากชั้นพรหมปริสัชชาภูมิ หินก้อนนั้นใช้เวลาถึงสี่เดือนจึงจะตกลงถึงพื้น
จากพรหมปริสัชชาภูมิขึ้นไปถึงชั้นที่สิบเอ็ด ชื่อชั้นอสัญญีภูมิ เป็นรูปพรหมที่มีรูปแปลกออกไปจากพรหมชั้นอื่น ๆ คือ พรหมชั้นอื่น ๆ มีรูป มีความรู้สึก เคลื่อนไหวได้ แต่พรหมชั้นอสัญญีมีรูปที่ ไม่ไหวติง ไร้อริยาบท โบราณเรียกว่า พรหมลูกฟักครั้นหมดอายุ ฌานเสื่อมแล้วก็ไปเกิดตามกรรมต่อไป
รูปพรหมที่สูงขึ้นไปจากอสัญญีพรหมอีกห้าชั้นเรียกว่า ชั้นสุทธาวาส หมายถึงที่อยู่ของผู้บริสุทธิ ผู้ที่จะไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสคือ ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี คือเป็นผู้ที่ไม่กลับมาสู่โลกนี้ต่อไป ทุกท่านจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนิพพานในชั้นสุทธาวาสนี้
อรูปภูมิ หรืออรูปาพาจรภูมิ มีสี่ชั้น เป็นพรหมที่ไม่มีรูปปรากฏ ผู้ที่ไปเกิดในภูมินี้คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุฌานโลกีย์ชั้นสูงสุด เรียกว่าอรูปฌานซึ่งมีอยู่สี่ระดับได้แก่ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากาสานัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาวิญญาณเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในวิญญาณัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาความไม่มีเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากิญจัญญาตนะภูมิ และผู้ที่บรรลุเนวสัญญานสสัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาฌานที่สามให้ละเอียดลงจนเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีญาก็มิใช่) จะไปเกิดในแนวสัญญานาสัญญายตนะภูมิ พรหมเหล่านี้เมื่อเสื่อมจากฌานก็จะกลับมาเกิดในรูปพรหมภูมิ หรือภูมิอื่น ๆ ได้เช่นกัน
การกำเนิดของสัตว์ การเกิดของสัตว์ในสามภูมิมีอยู่สี่อย่างด้วยกันคือ
- ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานบางชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม
- อัณฑชะ เกิดในไข่ ได้แก่สัตว์เดรัจฉานบางชนิด เช่น นก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ปลา เป็นต้น
- สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ได้แก่สัตว์ชั้นต่ำบางชนิดที่ใช้การแบ่งตัวออกไป เช่น ไฮดรา อมิบา เป็นต้น
- โอปาติกะ เกิดขึ้นเอง เมื่อเกิดแล้วก็จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อตายไปจะไม่มีทราก ได้แก่ เปรต อสูรกาย เทวดา และพรหม เป็นต้น
การตายของสัตว์ การตายมีสาเหตุสี่ประการด้วยกันคือ
- อายุขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นอายุ
- กรรมขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นกรรม
- อุภยขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นทั้ง อายุ และสิ้นทั้งกรรม
- อุปัจเฉทกรรมขยะ เป็นการตายเพราะอุบัติเหตุ
นอกจากนั้นแล้ว มีการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลกและในจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุราชเป็นแกนกลาง แวดล้อมด้วยกำแพงน้ำสีทันดรสมุทร และภูเขาสัตตบรรพต อันประกอบด้วย ภูเขายุคนธร อินิมธร กรวิก สุทัศนะ เนมินธร วินันตกะ และอัสสกัณณะ กล่าวถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดารากรทั้งหลายในจักรวาล เป็นเครื่องบ่งบอกให้รู้วันเวลาฤดูกาล และเหตุการณ์ต่าง ๆ กล่าวถึงทวีปทั้งสี่ที่ตั้งอยู่รอบภูเขาพระเมรุมาศ ชมพูทวีปอยู่ทางทิศใต้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีปริมณฑล ๓๐๐,๐๐๐ โยชน์ มีแผ่นดินเล็กล้อมรอบได้ ๕๐๐ มีแผ่นดินเล็กอยู่กลางทวีปใหญ่สี่ผืน เรียกว่า สุวรรณทวีป กว้างได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ มีประมณฑล ๓๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นเมืองที่อยู่ของพญาครุฑ
การกำหนดอายุของสัตว์และโลกทั้งสามภูมิ มี กัลป์ มหากัลป์ การวินาศ การอบัติ การสร้างโลก สร้างแผ่นดินตามคติของพราหมณ์ ท้ายสุดของภูมิกถา เป็นนิพพานคถาว่าด้วยนิพพานสมบัติของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน อันเป็นวิธีตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณกรรมจารึกลงในแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ติดไว้กับผนังด้านใน ของศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ และจดไว้ในสมุดไทยอีกหลายเล่ม กรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง เป็นภาษิตไทยแท้ ๆ ใช้ถ้อยคำอย่างพื้น ๆ เป็นภาษิตไทยเก่าแก่ที่ติดปากคนไทยสืบมา และมากลายรูปไปในลักษณะกวีนิพนธ์แบบต่าง ๆ แทรกอยู่ในวรรณคดีไทยในเวลาต่อมา เมื่อพิจารณาตามรูปของวลีจะพบว่า คล้ายคลึงใกล้เคียงกับ จารึกพ่อขุนรามคำแหงอาจเป็นไปได้ว่า สุภาษิตพระร่วงเดิมเป็นพระบรมราโชวาท ซึ่งพระร่วง พ่อขุนรามคำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชนชาวไทยในครั้งนั้น
สุภาษิตพระร่วงเขียนเป็นร่ายสุภาพ มีรูปแบบที่กำหนดไว้ตายตัวว่าในวรรคหนึ่ง ๆ ให้ใช้คำได้วรรคละห้าคำ คำส่งสัมผัสมีรูปวรรณยุกต์ใด คำรับสัมผัสต้องมีรูปวรรณยุกต์นั้น เช่น ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า เป็นต้น
วรรณกรรมเรื่องสุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะของสุโขทัย ได้รับการเรียบเรียงเป็นร่ายสุภาพ และจารึกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์
ตำนานพระร่วงพระลือ พระร่วงพระลือ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมจำหลักจากงาดำของช้างเผือกเป็นศิลปะสุโขทัย ต่อมามีการหล่อด้วยสำริดศิลปะอยุธยา ลักษณะประทับยืนตรง ยกพระหัตถ์ทั้งสองตั้งเสมอพระอุระ ทรงพระมาลาที่ชาวบ้านเรียกว่าหมวกชีโบ ครองจีวรคลุมยาวถึงพระชงฆ์ องค์พระร่วงสูง ๓๘ เซนติเมตร กว้าง ๘ เซนติเมตร องค์พระลือสูง ๓๔ เซนติเมตร กว้าง ๗ เซนติเมตร ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
พงศาวดารเหนือกล่าวประวัติพระร่วงกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยว่า พระบิดาเป็นมนุษย์พระมารดาเป็นนางนาค พระบิดาเดิมครองนครหริภุญไชย ทรงพระนามว่าอภัยคามมะนี ท่านได้ไปจำศีลภาวนาอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ได้มีนางนาคจำแลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นมาเที่ยวเล่น ได้พบพระยาอภัยคามมะนีแล้วเกิดรักใคร่กัน ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาเจ็ดวัน นางนาคก็กลับสู่เมืองบาดาล เมื่อใกล้คลอดบุตรจึงได้ขึ้นจากบาดาลไปยังภูเขาที่เคยพบพระยาอภัยคามมะนี และคลอดบุตรชาย ณ ที่นั้น แล้ววางบุตรบนผ้ากัมพล พร้อมทั้งวางพระธำมรงค์ที่ได้รับประทานจากพระยาอภัยคามมะนี อธิษฐานขอให้พ่อลูกพบกัน แล้วกลับไปบาดาล
มีพรานป่าผู้หนึ่งมาพบทารกจึงนำไปเลี้ยง เมื่อกุมารเจริญวัย เป็นผู้มีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ วันหนึ่งพระยาอภัยคามมะนี มีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชนิเวศน์เพิ่มเติม จึงประกาศให้ราษฎรไปช่วยกันตัดไม้มาสร้างถวาย พรานป่าก็ได้พาบุตรบุญธรรมไปร่วมตัดไม้ด้วย กุมารก็แสดงฤทธิ์ด้วยการใช้วาจาสิทธิ์ให้ได้ไม้มาโดยไม่ต้องลงแรงตัด ความทราบถึงพระยาอภัยคามมะนี จึงรับสั่งให้ลูกนางนาคเข้าเฝ้า เมื่อได้ซักถามประวัติจนทราบว่า เป็นพระโอรสจึงรับเข้าไว้ในเศวตฉัตร และทรงตั้งพระนามว่า อรุณกุมาร พระยาอภัย ฯ มีโอรสกับพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ฤทธิกุมาร เมื่อโอรสทั้งสองเจริญวัย ก็ได้ทรงสู่ขอพระธิดาผู้ครองนครศรีสัชนาลัยมาอภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร เมื่อพระยาอภัย ฯ สวรรคต อรุณกุมารจึงได้ครองนครสุโขทัยสืบแทน ต่อมาเมื่อผู้ครองนครศรีสัชนาลัยสวรรคต อรุณกุมารก็ได้ครองนครศรีสัชนาลัยควบคู่กับนครสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระร่วงพระองค์ได้ทรงสู่ขอพระธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้อภิเษกสมรสกับฤทธิกุมาร และหลังจากเจ้าเมืองเชียงใหม่สวรรคตแล้ว เจ้าฤทธิกุมารก็ได้ครองเมืองเชียงใหม่ได้พระนามใหม่ว่า พระลือ
พระร่วงส่วยน้ำ มีตำนานเรื่องพระร่วงอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า พระร่วงเป็นบุตรของนายคงเครา นายกองส่งส่วยน้ำเมืองลพบุรี ในครั้งนั้นพระเจ้าแผ่นดินขอมแห่งกรุงกัมพูชามีเมืองขึ้นที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการเป็นจำนวนมาก ในจำนวนดังกล่าวมีเมืองลพบุรีอยู่ด้วย เมืองลพบุรีต้องส่งส่วยน้ำเป็นเครื่องบรรณาการเป็นประจำทุกปี นายคงเครามีบุตรคนหนึ่งชื่อนายร่วง เป็นคนมีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ เมื่อตอนที่มีอายุสิบเอ็ดปี เขาพายเรือทวนน้ำนานเข้าจึงเหน็ดเหนื่อยมากถึงกับออกปากว่า "ทำไมน้ำจึงไม่ไหลไปทางโน้นบ้าง" พอพูดขาดคำก็ปรากฏว่าสายน้ำได้ไหลย้อนกลับไปในทางที่จะไปทันที นายร่วงเมื่อรู้ว่าตนมีวาจาสิทธิ์ก็เก็บเรื่องไว้เป็นความลับไม่บอกให้ใครรู้
เมื่อนายคงเคราชราภาพลง นายร่วงจึงรับหน้าที่ส่งส่วยน้ำแทนบิดา เขาคิดหาวิธีการทำภาชนะใส่น้ำส่งเจ้ากรุงกัมพูชา เป็นภาชนะที่เบาและจุน้ำได้มากโดยใช้ไม้ไผ่มาจักสานเป็นชะลอม (ครุ) ขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปตักน้ำในทะเลชุบศร ลั่นวาจาสิทธิ์ให้น้ำไม่รั่วออกจากชะลอม น้ำก็อยู่ในชะลอมไม่รั่วไหลออกมา เมื่อนำไปถวายพระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และทรงวิตกว่าบัดนี้มีคนมีบุญเกิดขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อกรุงกัมพูชา ควรที่จะกำจัดนายร่วงเสียโดยเร็ว จึงได้ตรัสสั่งให้นายเดโชชัย นายทหารคู่พระทัย ดำเนินการกำจัดนายร่วงเสีย
ฝ่ายนายร่วงเมื่อได้ทราบว่าพระเจ้ากรุงกัมพูชาคิดกำจัดตน จึงหลบหนีจากเมืองลพบุรีขึ้นมาบวชเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย นายเดโชชัย เป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าก็ได้ติดตามนายร่วงมาถึงเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงกำแพงเมืองสุโขทัย ก็ใช้อิทธิฤทธิ์ดำดินลอดใต้กำแพงเมืองเข้ามาโผล่ขึ้นในลานวัดมหาธาตุ ขณะนั้นพระภิกษุพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่ นายเดโชชัยจึงเข้าไปถามว่า รู้ไหมว่านายร่วงที่มาจากเมืองลพบุรีนั้นขณะนี้อยู่ที่ไหน พระภิกษุร่วงก็รู้ทันทีว่าคนผู้นี้ตามมาทำร้ายตน จึงได้กล่าววาจาออกไปว่า "สูจงอยู่ที่นี่เถิด รูปจะไปบอกนายร่วงให้" พอพูดขาดคำร่างของนายเดโชชัยก็กลายเป็นหินไปทันที เมื่อชาวบ้านเมืองสุโขทัยรู้ว่า พระภิกษุร่วงมีวาจาสิทธิ์ สาปขอมให้กลายเป็นหินได้ จึงมีความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยสิ้นแล้ว จึงได้พากันอาราธนาให้พระภิกษุร่วงลาสิกขา แล้วขึ้นครองเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีจันทราธิบดี ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชน และบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา สำหรับรูปคนที่เป็นหินนั้น ชาวบ้านเรียกว่า ขอมดำดิน ปัจจุบันถูกคนทุบตีจนแตกหักเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทางราชการได้นำไปไว้ที่ศาลพระแม่ย่า หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
ที่มา : หอมรดกไทย www.heritage.thaigov.net
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ลายสือไท
กำเนิดลายสือไทย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบต่อกันมา โดยอาศัยลายสือไทยของพรองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่ ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรืองอยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด แต่เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นแล้ว มีศิลาจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมาอย่างไรบ้าในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ในโอกาสครบรอบ ๗๐๐ ปีนี้ คนไทยทุกคนจึงควรน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีข้อความปรากฎว่า “เมื่อก่อนลานสืไทนี๋บ่มี ๑๒๐๕ สก ปีมะแมพ่ขุนรามคํแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี๋ สายสืไทนี๋ จี่งมีเพื่อขุนผู๋น๋นนใศ่ไว๋” หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ในใจ แปลว่า คำนึงในใจ (จากพจนานุกรมไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖
ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ได้กล่าวไว้ในตำนานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า คำที่ใช้ในจารึกมีคำ นี้ อยู่ต่อคำ ลายสือ ทุกแห่ง (สามแห่ง) หมายความว่า หนังสือไทยอย่างนี้ไม่มีอยู่ก่อน มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เซเดส์ ยังเห็นว่า พวกไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางลำน้ำยม ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบมาจากมอญ (ตำนานอักษรไทย หน้า ๑ หน้า ๖ และหน้า ๑๑) ต่อมาขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัย พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้ในทางราชการ แล้วจึงแปลอักษรเดิมของไทยมาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด ถ้าประสงค์จะสมมติว่าอักษรไทยเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษรอาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทยน้อย (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้เขียนเรื่อง “สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามคำหง” ไว้ และได้สันนิษฐานว่า อักษรพ่อขุนรามคำแหงทุกตัวดัดแปลงนาจากอักษรขอมหวัด
หนังสือจินดามณีเล่ม ๑ ของหอสมุดแห่งชาติเลขที่ 11 เป็นสมุดไทยดำ มีข้อคามเหมือนกับจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งนายขจร สุขพานิช ได้มาจากกรุงลอนดอน แต่คลาดเคลื่อนน้อยกว่า มีข้อความว่า “อนึ่งมีในจดหมายแต่ก่อนว่า ศกราช ๖๔๕ มแมศก พญาร่วงเจ้า ได้เมืองศรีสัชนาไลยได้แต่งหนังสือไทย แล จ ได้แต่งรูปก็ดี แต่งแม่อักษรก็ดีมิได้ว่าไวแจ้ง อนึ่งแม่หนังสือแต่ ก กา กน ฯ,ฯ ถึงเกอยเมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว เห็นว่าพญาร่วงเจ้าจะแต่งแต่รูปอักษรไทย” แท้จริงพ่อขุนรามคำแหงมิได้ทรงแต่งแต่รูปอักษรไทยเท่านั้น แต่ยังได้ทรงเปลี่ยนอักษรวิธีการเขียนภาษาไทยให้ดีขึ้นกว่าเดินอีกปลายประการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้านี้
มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่
ผู้เขียนเคยบรรยายไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ว่า ถ้าลายสือไทยนี้บ่อมี หมายความว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงเมืองสุโขทัย ๑๔ ครั้ง ทุกครั้งใช้คำ เมืองสุโขทัยนี้ จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงมาตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า นี้เป็นแต่คำชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้น ที่ว่า ลายสือไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่ามีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหมเกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลาใกล้เคียงกับการก่อกำเนิดตัวหนังสือในสุโขทัยก็เป็นได้ (หนังสือรวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย หน้า ๕๕)
ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี คำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ในลายสือ หรือรากศัพท์เดียวกับ จื่อ ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจำ เช่นได้จื่อจำไว้ บูราณยีบอกประวัติผู้ครองราชย์มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งตำนานเป็นเทพนิยายลงมา ศักราชแรกที่กล่าวถึง คือ พ.ศ. ๑๗๓๓ ส่วนใหญ่เผ่าอื่นเริ่มมีประวัติเป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่ายุคไทยอาหม หากเก่ากว่านั้นขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือหรือตำนานเก่า ๆ ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก ประวัติศาสตจร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราวย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน
อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมด หรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่ หรือสิ่งอื่นที่ผุพังไปได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใดที่หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป ทำไมจึงไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น
ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปในล้านนา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๖๒ วัดพระยืนว่า พระมหาสุมนเถรนำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปในล้านนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือสุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่าง และอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขาม ซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่กว่า 10 หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๐–๑๙๔๐ อยู่หลักหนึ่ง
ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถ้ำนางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐–๑๙๑๑)
ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน และลาวปัจจุบันนี้ยังใช้ตัวอักษรที่กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทยเข้าไปใช้จนแพร่หลายกว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากของที่เคยชินแล้วทำได้ยากมาก เป็นต้นว่า เราเคยเขียนคำว่า “น้ำ” บัดนี้ออกเสียเป็น “น้าม” แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรงกับเสียง
ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครอง ก็จำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น ก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือ ที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือจีนมาใช้ คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน ส่วนพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มน้ำเจ้าพระยามาแต่เดิม หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิม หรือทรงดัดแปลงจากนั้นบ้างเล็กน้อยแทนที่จะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงนั้นมีเค้าเงื่อนอยู่ในพงศาวดารเหนือว่าพ่อขุนรามฯ ได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงไทย ยกเว้นแต่จีนเพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพผิดกับหลักการเขียนเป็นรูปพยัญชนะและสระแบบของไทย รูปอักษรของพ่อขุนรามคำแหงคล้ายตัวหนังสือลังกา บังคลาเทศ ขอม และเทวนาครี ฯลฯ เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม แต่หันไปทางเดียวกับตัวอักษรลังกาที่มีใช้อยู่ก่อนแล้ว
สมัยพ่อขุนรามคำแหงยังไม่มีไม้หันอากาศ แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรคเดียวกันเขียนติดกัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ แทน อัฏฐ
พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น โดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนังคือ ไทยอาหมและไทยคำที่ (ขำตี้) ออกเสียงคำ อัน คล้ายกับคำ อาน แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียง อัก-อาก อังอาง อัด-อาด อับ-อาบ เหมือนกับตัวหนังสือของเราโดยออกเสียงคำตนสั้นกว่าคำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า อัว คือ อาว ที่เสียงสระสั้นลง พ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ อวา (คืออัว) เป็นสระ อัว แทนที่จะเป็นสระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแล้ว
พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษรมอญมากใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียง ดังตัวอย่างอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙
ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขึ้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยเริ่มจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึกหลายท่านเชื่อว่า รูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะเวลานานทีเดียว
คุณวิเศษของลายสือไทย
๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหราราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์ของชาวอินเดียวกล่าวคือ ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้ประดิษฐ์พยัญชนะ และสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ เขียน เบก อ่านออกเสียงเป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทยใหญ่เขียน ปีน อ่านออกเสียเป็น ปีน เป็น หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่านจะต้องดูความหมายของประโยคก่อน จึงจะอ่านออกเสียให้ถูกต้อง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะสระอีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น เป็นต้นว่าได้เพิ่ม ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ สระอึ อือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากบาท) จนทำให้สามารถเขียนคำไทยได้ทุกคำ
๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจากตา-กลม ทำให้อ่านข้อความได้ถูกต้องไม่กำกวม กล่าวถือ ถ้าเป็นอักษรควบกล้ำให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยกห่างออกไป เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลํ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลํ
๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามฯ ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ นำสระมาเรียงอยู่ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย น่าเสียดายที่สระเหล่านั้นถูกดึงกลับไปไว้ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา ทั้งนี้เพราะคนไทยเคยชินกับวิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย ซึ่งเป็นต้นตำหรับดั้งเดิม ถ้ายังคงเขียนสระแบบพ่อขุนรามฯ อยู่ เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว เพราะทุกวันนี้จะต้องทิ้งช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระ อุ อู วรรณยุกต์ และสระอือ รวมเป็นช่องว่างที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วนให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูล และการค้นหาข้อมูลจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล แต่ตัวอักษรไทยในปัจจุบันบรรทัดเดียวคอมพิวเตอร์จะต้องกวาดผ่านตลอดบรรทัดไปถึง ๔ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกกวาดพวกวรรณยุกต์ ครั้งที่สองกวาดพวกสระบน เช่น สระอี อึ ครั้งที่สามกวาดพวกพยัญชนะและครั้งที่สี่กวาดพวกสระล่าง คือ สระ อุ อู จึงทำให้เสียเวลาเป็นสี่เท่าของตัวอักษรของอังกฤษ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละครั้งเดียว ถ้าใช้อักขรวิธีแบบของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละสองครั้ง ลดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้กว่าครึ่ง ถ้ายิ่งดัดแปลงให้วรรณยุกต์ไปอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเสียด้วย ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่าสี่เท่า
๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พยัญชนะทุกตัวเขียนเรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน ไม่มีตัวพยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของเขมร มอญ พม่า และไทยใหญ่ เช่น เขียน อฏฐ แทนที่จะเป็น อฏฐ เซเดย์ได้กล่าวไว้ว่า การที่พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการสำคัญยิ่ง แลควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้ จะรู้สึกพระคุณ และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรงจัดแบบอักษรไทยให้สะดวดขึ้น ข้อนี้ให้มาก อนึ่ง ในสยามประเทศทุกวันนี้การคิดแบบเครื่องพิมพ์ดีดและการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ยิ่งในวิชาความรู้แลทางราชการนับว่าเพราะพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงพระราชดำริเปลี่ยนรูปอักษรขอมและเรียงพยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้ ส่วนบรรดาประเทศที่ยังใช้วิธีซ้อนตัวพยัญชนะ เช่นประเทศเขมรและประเทศลาว การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านั้นเป็นการยาก ไม่สู้จำเริญ แลยังไม่มีผู้ใดในชาตินั้น ๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดสำหรับตัวอักษรของตน ๆ เลย (พ.ศ. ๒๔๖๘)
๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางจอง ศ ส ก็ขีดออกไปข้าง ๆ แทนที่จะสูงขั้นไปกว่าอักษรตัวอื่น ๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่น ๆ เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับพยัญชนะรวมทั้งสระ โอ ใอ และ ไอ ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์หางตัว ป และสระข้างล่าง ข้างบนจะไม่หักหายไปอย่างปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา
๖. พ่อขุนรามคำหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและรวดเร็ว พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือสามเส้นต่อพยัญชนะตัวหนึ่ง
๗. ประการสุดท้าย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ขึ้น ทำให้สามารถอ่านความหมายของคำได้ถูกต้องโดยไม่ต้องดูข้อความประกอบทั้งประโยค สมมติว่าเราเข้าใจภาษาไทยใหญ่เป็นอย่างดี แต่ถ้าจะอ่านภาษาไทยใหญ่ เขาเขียน ปีน คำเดียวอาจจะอ่านเป็น ปีน ปี่น ปี้น ปี๊น ปี๋น เป็น เป่น เป้น เป๊ เป๋น แปน แป่น แป้น แป๊น และ แป๋น รวมเป็น 15 คำ ถ้าไม่อ่านข้อความประกอบจะไม่ทราบว่าคำที่ถูกต้องเป็นคำใดกันแน่ แต่ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อ่านได้เป็น ปีน แต่อย่างเดียว
ที่มา : ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร รวมบทความเรื่องภาษาและอักษรไทย กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร (2526)
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0-5561-4304 โทรสาร 0-5561-1619
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ E-mail : sukhothai@moi.go.th , sukhothai_gov@thaimail.com
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อมหาศักราช ๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ และได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบต่อกันมา โดยอาศัยลายสือไทยของพรองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่ ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรืองอยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด แต่เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นแล้ว มีศิลาจารึกและพงศาวดารเหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมาอย่างไรบ้าในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ในโอกาสครบรอบ ๗๐๐ ปีนี้ คนไทยทุกคนจึงควรน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน
ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีข้อความปรากฎว่า “เมื่อก่อนลานสืไทนี๋บ่มี ๑๒๐๕ สก ปีมะแมพ่ขุนรามคํแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใศ่ลายสืไทนี๋ สายสืไทนี๋ จี่งมีเพื่อขุนผู๋น๋นนใศ่ไว๋” หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทยขาวยังใช้อยู่) ใคร่ในใจ แปลว่า คำนึงในใจ (จากพจนานุกรมไทยอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖
ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ ได้กล่าวไว้ในตำนานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า คำที่ใช้ในจารึกมีคำ นี้ อยู่ต่อคำ ลายสือ ทุกแห่ง (สามแห่ง) หมายความว่า หนังสือไทยอย่างนี้ไม่มีอยู่ก่อน มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ เซเดส์ ยังเห็นว่า พวกไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางลำน้ำยม ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบมาจากมอญ (ตำนานอักษรไทย หน้า ๑ หน้า ๖ และหน้า ๑๑) ต่อมาขอมมีอำนาจปกครองสุโขทัย พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้ในทางราชการ แล้วจึงแปลอักษรเดิมของไทยมาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด ถ้าประสงค์จะสมมติว่าอักษรไทยเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษรอาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทยน้อย (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้เขียนเรื่อง “สันนิษฐานเทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอมในสมัยพ่อขุนรามคำหง” ไว้ และได้สันนิษฐานว่า อักษรพ่อขุนรามคำแหงทุกตัวดัดแปลงนาจากอักษรขอมหวัด
หนังสือจินดามณีเล่ม ๑ ของหอสมุดแห่งชาติเลขที่ 11 เป็นสมุดไทยดำ มีข้อคามเหมือนกับจินดามณีฉบับพระเจ้าบรมโกศ ซึ่งนายขจร สุขพานิช ได้มาจากกรุงลอนดอน แต่คลาดเคลื่อนน้อยกว่า มีข้อความว่า “อนึ่งมีในจดหมายแต่ก่อนว่า ศกราช ๖๔๕ มแมศก พญาร่วงเจ้า ได้เมืองศรีสัชนาไลยได้แต่งหนังสือไทย แล จ ได้แต่งรูปก็ดี แต่งแม่อักษรก็ดีมิได้ว่าไวแจ้ง อนึ่งแม่หนังสือแต่ ก กา กน ฯ,ฯ ถึงเกอยเมืองขอมก็แต่งมีอยู่แล้ว เห็นว่าพญาร่วงเจ้าจะแต่งแต่รูปอักษรไทย” แท้จริงพ่อขุนรามคำแหงมิได้ทรงแต่งแต่รูปอักษรไทยเท่านั้น แต่ยังได้ทรงเปลี่ยนอักษรวิธีการเขียนภาษาไทยให้ดีขึ้นกว่าเดินอีกปลายประการ ดังจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้านี้
มีหนังสือไทยเดิมก่อนลายสือไทยหรือไม่
ผู้เขียนเคยบรรยายไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ ว่า ถ้าลายสือไทยนี้บ่อมี หมายความว่า หนังสือไทยชนิดนี้ไม่มี แต่คงจะมีหนังสือไทยแบบอื่นอยู่ก่อนแล้ว ในจารึกหลักเดียวกันนี้ได้กล่าวถึงเมืองสุโขทัย ๑๔ ครั้ง ทุกครั้งใช้คำ เมืองสุโขทัยนี้ จะตีความว่า มีเมืองสุโขทัยอยู่ก่อนแล้ว แล้วจึงมาตั้งเมืองสุโขทัยขึ้นใหม่กระนั้นหรือ ผู้เขียนเห็นว่า นี้เป็นแต่คำชี้เฉพาะ ถ้าเทียบกับภาษาอังกฤษก็คงจะตรงกับ the เท่านั้น มิได้หมายความว่า this เพราะฉะนั้น ที่ว่า ลายสือไทยนี้บ่มี คงมิได้หมายความว่ามีลายสือไทยอื่นอยู่แล้ว แต่ผู้เขียนยอมรับว่าอาจจะมีหนังสือของไทยอาหมเกิดขึ้นทางอัสสัมในเวลาใกล้เคียงกับการก่อกำเนิดตัวหนังสือในสุโขทัยก็เป็นได้ (หนังสือรวมการบรรยายเรื่องตัวอักษรไทย หน้า ๕๕)
ประวัติไทยอาหมปรากฏอยู่ในหนังสือบูราณยี คำว่า ยี อาจจะตรงกับ สือ ในลายสือ หรือรากศัพท์เดียวกับ จื่อ ซึ่งใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน แปลว่า จดจำ เช่นได้จื่อจำไว้ บูราณยีบอกประวัติผู้ครองราชย์มาตั้งแต่ยุคที่นิยมแต่งตำนานเป็นเทพนิยายลงมา ศักราชแรกที่กล่าวถึง คือ พ.ศ. ๑๗๓๓ ส่วนใหญ่เผ่าอื่นเริ่มมีประวัติเป็นหลักเป็นฐานไม่เก่าไปกว่ายุคไทยอาหม หากเก่ากว่านั้นขึ้นไป จะเป็นเรื่องเทพนิยายแบบพงศาวดารเหนือหรือตำนานเก่า ๆ ของเรา ซึ่งเกี่ยวกับปาฏิหาริย์เป็นส่วนมาก ประวัติศาสตจร์ไทยทุกเผ่ามาเริ่มจดเป็นหลักเป็นฐานในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ ผู้เขียนจึงเห็นว่าตัวหนังสือไทยคงจะเกิดขึ้นต้นยุคสุโขทัยนี้เอง เมื่อมีตัวหนังสือใช้แล้วก็อาจจะจดเรื่องราวย้อนหลังขึ้นไปได้อีกสองสามชั่วคน
อีกประการหนึ่ง ไม่เคยมีผู้พบจารึกภาษาไทยก่อนยุคสุโขทัยขึ้นไปเลย จริงอยู่เป็นไปได้ว่า คนไทยอาจจะมีตัวอักษรอื่นใช้อยู่ก่อนแล้ว แต่เผอิญจารึกหายไปหมด หรืออาจจะเขียนไว้บนไม้ไผ่ หรือสิ่งอื่นที่ผุพังไปได้ง่ายก็เป็นได้ แต่ถ้ามีตัวอักษรอื่นอยู่ก่อนแล้ว ตัวอักษรแบบนั้นก็น่าจะปรากฏขึ้นที่ใดที่หนึ่ง เพราะดินแดนตั้งแต่อัสสัมถึงเวียดนามและจีนตอนใต้ถึงมลายูมีคนไทยอาศัยอยู่ทั่วไป ทำไมจึงไม่ปรากฏตัวอักษรแบบดังกล่าวเลย ไม่ว่าจะจารึกไว้ในรูปลักษณะใด ๆ ทั้งสิ้น
ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแพร่หลายเข้าไปในล้านนา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๖๒ วัดพระยืนว่า พระมหาสุมนเถรนำศาสนาพุทธนิกายรามัญวงศ์ หรือนิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปในล้านนา เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ และได้เขียนจารึกด้วยตัวหนังสือสุโขทัยไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๔ ต่อมาตัวหนังสือสุโขทัยนี้ได้เปลี่ยนรูปร่าง และอักขรวิธีไปบ้างกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม และล้านนายังใช้ตัวหนังสือชนิดนี้มาจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เชียงตุงและเมืองที่ใกล้เคียงในพม่ามีศิลาจารึกอักษรฝักขาม ซึ่งดัดแปลงไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอยู่กว่า 10 หลัก เริ่มแต่ศิลาจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังมีจารึกที่เจดีย์อานันทะในพุกามเขียนด้วยตัวหนังสือสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๐–๑๙๔๐ อยู่หลักหนึ่ง
ในประเทศลาวมีจารึกเขียนไว้ที่ผนังถ้ำนางอันใกล้หลวงพระบางด้วยตัวอักษรสุโขทัย ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือสมัยพระเจ้าลิไทย (พ.ศ. ๑๘๙๐–๑๙๑๑)
ไทยขาว ไทยดำ ไทยแดง เจ้าไทยในตังเกี๋ย ผู้ไทยในญวน และลาวปัจจุบันนี้ยังใช้ตัวอักษรที่กลายไปจากลายสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ถ้าคนไทยมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ยอมรับลายสือไทยเข้าไปใช้จนแพร่หลายกว้างขวางไปในหลายประเทศดังกล่าวมาแล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากของที่เคยชินแล้วทำได้ยากมาก เป็นต้นว่า เราเคยเขียนคำว่า “น้ำ” บัดนี้ออกเสียเป็น “น้าม” แต่ก็มิได้เปลี่ยนวิธีเขียนให้ตรงกับเสียง
ผู้เขียนเห็นว่า ในชั้นแรกเมื่อคนไทยมิได้เป็นชนชั้นปกครอง ก็จำเป็นจะต้องเรียนตัวหนังสือที่ทางราชการบ้านเมืองใช้อยู่ เพื่ออ่านประกาศของทางราชการให้เข้าใจ ถ้าจะประดิษฐ์ตัวหนังสือขึ้นใช้เอง จะไปบังคับใครให้มาเรียนหนังสือดังกล่าว เมื่อใดคนไทยได้เป็นชนชั้นปกครองขึ้น ก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือ ที่ใช้กันอยู่ในถิ่นนั้นมาเป็นตัวหนังสือของไทย เช่น คนไทยในเมืองจีนคงดัดแปลงตัวหนังสือจีนมาใช้ คนไทยในล้านนาคงจะดัดแปลงตัวหนังสือมอญซึ่งนิยมใช้กันในถิ่นนี้มาก่อน ส่วนพ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็น่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมซึ่งนิยมใช้กันอยู่แถวลุ่มน้ำเจ้าพระยามาแต่เดิม หากมีตัวอักษรไทยเดิมอยู่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงมหาราชคงจะทรงใช้ตัวอักษรไทยเดิม หรือทรงดัดแปลงจากนั้นบ้างเล็กน้อยแทนที่จะดัดแปลงจากอักษรขอมเป็นส่วนใหญ่ แท้จริงนั้นมีเค้าเงื่อนอยู่ในพงศาวดารเหนือว่าพ่อขุนรามฯ ได้ทรงอาศัยนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่เชี่ยวชาญตัวหนังสือชาติต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงไทย ยกเว้นแต่จีนเพราะจีนใช้หลักการเขียนหนังสือเป็นรูปภาพผิดกับหลักการเขียนเป็นรูปพยัญชนะและสระแบบของไทย รูปอักษรของพ่อขุนรามคำแหงคล้ายตัวหนังสือลังกา บังคลาเทศ ขอม และเทวนาครี ฯลฯ เป็นต้นว่า ตัว จ ฉ หันหน้าไปคนละทางกับอักษรขอม แต่หันไปทางเดียวกับตัวอักษรลังกาที่มีใช้อยู่ก่อนแล้ว
สมัยพ่อขุนรามคำแหงยังไม่มีไม้หันอากาศ แต่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกันหรือวรรคเดียวกันเขียนติดกัน เช่น อนน แทน อัน และ อฏฐ แทน อัฏฐ
พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้น โดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อน ข้อพิสูจน์ข้อหนังคือ ไทยอาหมและไทยคำที่ (ขำตี้) ออกเสียงคำ อัน คล้ายกับคำ อาน แต่เสียงสระสั้นกว่า และออกเสียง อัก-อาก อังอาง อัด-อาด อับ-อาบ เหมือนกับตัวหนังสือของเราโดยออกเสียงคำตนสั้นกว่าคำหลังในคู่เดียวกัน แต่ออกเสียง อัว ว่า เอา เพราะถือหลักการที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า อัว คือ อาว ที่เสียงสระสั้นลง พ่อขุนรามคำแหงทรงใช้ อวา (คืออัว) เป็นสระ อัว แทนที่จะเป็นสระ เอา หากคนไทยเคยอ่าน อัว เป็น เอา ซึ่งถูกตามหลักภาษาศาสตร์มาแต่เดิมแล้วคงยากที่จะเปลี่ยนแก้ให้อ่านเป็น อัว ซึ่งขัดกับความเคยชิน ฉะนั้นจึงน่าเชื่อว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ตัวหนังสือไทยขึ้นโดยมิได้ทรงทราบว่ามีตัวหนังสือไทยเดิมอยู่ก่อนแล้ว
พ่อขุนมังรายมหาราช (เป็นพระนามที่ถูกต้องของพระยาเม็งราย) คงจะได้ดัดแปลงตัวอักษรมอญมากใช้เขียนหนังสือไทยในเวลาใกล้เคียง ดังตัวอย่างอักษรในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙
ส่วนไทยอาหมคงสร้างตัวหนังสือขึ้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกับตัวหนังสือสุโขทัย ทั้งนี้เพราะคนไทยเริ่มจะสร้างอาณาจักรเป็นปึกแผ่นกว้างขวางออกไปในระยะนั้น อย่างไรก็ดี นักอ่านศิลาจารึกหลายท่านเชื่อว่า รูปตัวอักษรของไทยอาหมชี้ให้เห็นว่า อักษรไทยอาหมพึ่งเกิดใหม่หลังอักษรพ่อขุนรามคำแหงเป็นระยะเวลานานทีเดียว
คุณวิเศษของลายสือไทย
๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหราราชมีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่นซึ่งเป็นลูกศิษย์ของชาวอินเดียวกล่าวคือ ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้ประดิษฐ์พยัญชนะ และสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ เขียน เบก อ่านออกเสียงเป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทยใหญ่เขียน ปีน อ่านออกเสียเป็น ปีน เป็น หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่านจะต้องดูความหมายของประโยคก่อน จึงจะอ่านออกเสียให้ถูกต้อง
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะสระอีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น เป็นต้นว่าได้เพิ่ม ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ สระอึ อือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากบาท) จนทำให้สามารถเขียนคำไทยได้ทุกคำ
๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจากตา-กลม ทำให้อ่านข้อความได้ถูกต้องไม่กำกวม กล่าวถือ ถ้าเป็นอักษรควบกล้ำให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยกห่างออกไป เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลํ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลํ
๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามฯ ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ นำสระมาเรียงอยู่ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย น่าเสียดายที่สระเหล่านั้นถูกดึงกลับไปไว้ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา ทั้งนี้เพราะคนไทยเคยชินกับวิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย ซึ่งเป็นต้นตำหรับดั้งเดิม ถ้ายังคงเขียนสระแบบพ่อขุนรามฯ อยู่ เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว เพราะทุกวันนี้จะต้องทิ้งช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระ อุ อู วรรณยุกต์ และสระอือ รวมเป็นช่องว่างที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วนให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ การเก็บข้อมูล และการค้นหาข้อมูลจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล แต่ตัวอักษรไทยในปัจจุบันบรรทัดเดียวคอมพิวเตอร์จะต้องกวาดผ่านตลอดบรรทัดไปถึง ๔ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งแรกกวาดพวกวรรณยุกต์ ครั้งที่สองกวาดพวกสระบน เช่น สระอี อึ ครั้งที่สามกวาดพวกพยัญชนะและครั้งที่สี่กวาดพวกสระล่าง คือ สระ อุ อู จึงทำให้เสียเวลาเป็นสี่เท่าของตัวอักษรของอังกฤษ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละครั้งเดียว ถ้าใช้อักขรวิธีแบบของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เครื่องคอมพิวเตอร์จะกวาดเพียงบรรทัดละสองครั้ง ลดเวลาและค่าใช้จ่ายลงได้กว่าครึ่ง ถ้ายิ่งดัดแปลงให้วรรณยุกต์ไปอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะเสียด้วย ก็จะลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่าสี่เท่า
๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พยัญชนะทุกตัวเขียนเรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน ไม่มีตัวพยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของเขมร มอญ พม่า และไทยใหญ่ เช่น เขียน อฏฐ แทนที่จะเป็น อฏฐ เซเดย์ได้กล่าวไว้ว่า การที่พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการสำคัญยิ่ง แลควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้ จะรู้สึกพระคุณ และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรงจัดแบบอักษรไทยให้สะดวดขึ้น ข้อนี้ให้มาก อนึ่ง ในสยามประเทศทุกวันนี้การคิดแบบเครื่องพิมพ์ดีดและการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ยิ่งในวิชาความรู้แลทางราชการนับว่าเพราะพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงพระราชดำริเปลี่ยนรูปอักษรขอมและเรียงพยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้ ส่วนบรรดาประเทศที่ยังใช้วิธีซ้อนตัวพยัญชนะ เช่นประเทศเขมรและประเทศลาว การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านั้นเป็นการยาก ไม่สู้จำเริญ แลยังไม่มีผู้ใดในชาตินั้น ๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดสำหรับตัวอักษรของตน ๆ เลย (พ.ศ. ๒๔๖๘)
๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางจอง ศ ส ก็ขีดออกไปข้าง ๆ แทนที่จะสูงขั้นไปกว่าอักษรตัวอื่น ๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่น ๆ เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับพยัญชนะรวมทั้งสระ โอ ใอ และ ไอ ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์หางตัว ป และสระข้างล่าง ข้างบนจะไม่หักหายไปอย่างปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา
๖. พ่อขุนรามคำหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและรวดเร็ว พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือสามเส้นต่อพยัญชนะตัวหนึ่ง
๗. ประการสุดท้าย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ขึ้น ทำให้สามารถอ่านความหมายของคำได้ถูกต้องโดยไม่ต้องดูข้อความประกอบทั้งประโยค สมมติว่าเราเข้าใจภาษาไทยใหญ่เป็นอย่างดี แต่ถ้าจะอ่านภาษาไทยใหญ่ เขาเขียน ปีน คำเดียวอาจจะอ่านเป็น ปีน ปี่น ปี้น ปี๊น ปี๋น เป็น เป่น เป้น เป๊ เป๋น แปน แป่น แป้น แป๊น และ แป๋น รวมเป็น 15 คำ ถ้าไม่อ่านข้อความประกอบจะไม่ทราบว่าคำที่ถูกต้องเป็นคำใดกันแน่ แต่ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อ่านได้เป็น ปีน แต่อย่างเดียว
ที่มา : ศ. ดร. ประเสริฐ ณ นคร รวมบทความเรื่องภาษาและอักษรไทย กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร (2526)
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0-5561-4304 โทรสาร 0-5561-1619
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ E-mail : sukhothai@moi.go.th , sukhothai_gov@thaimail.com
ศิลาจารึก(Stone Inscription)
ศิลาจารึก
ศิลาจารึกเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ในด้านภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และนิรุกติศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของเนื้อหาสาระ ถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ที่แสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ ขณะทรงผนวชได้เสด็จจาริกไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ทรงค้นพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ อันเป็นหลักลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ จากนั้นก็ได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของศิลาจารึกอีกหลายหลัก ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกที่สลักขึ้นในสมัยสุโขทัย ที่มีการชำระ และแปลแล้วนำมาพิมพ์รวบรวมไว้ใน ประชุมจารึกสยามภาคที่ ๑ พ.ศ.๒๔๖๗ มีจำนวน ๑๕ หลัก จากนั้นได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยมีหอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยหลักหลายครั้ง เฉพาะที่เป็นจารึกสมัยสุโขทัย ได้มีการรวบรวมจัดพิมพ์อีกในหนังสือจารึกสมัยสุโขทัย โดยกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พ.ศ.๒๕๒๖ ได้จัดกลุ่มจารึกสุโขทัยตามลักษณะของตัวอักษร จำแนกไว้เป็น ๕ กลุ่ม คือ
- จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรขอมสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรไทยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรขอมสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรขอมขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรไทยสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรธรรมล้านนา
จากรึกสุโขทัยที่พบและอ่านแล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ หลัก ที่สำคัญมี ดังนี้
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ทำจากหินทรายแป้ง ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๑ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า จารึกหลักที่ ๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ขณะทรงผนวชได้เสด็จจาริกหัวเมืองฝ่ายเหนือ ถึงเมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกหลักนี้พร้อมพระแท่นมนังคศิลาบาตร ณ โคกปราสาทร้าง จึงได้โปรดให้นำเข้ากรุงเทพ ฯ ในขั้นแรกเก็บรักษาไว้ที่วัดราชาธิวาส เพราะทรงประทับอยู่ ณ ที่วัดนั้น ต่อมาเมื่อทรงย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดให้ย้ายไปไว้ที่วัดบวร ฯ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงอ่านศิลาจารึกหลักนี้ได้เป็นพระองค์แรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ และหอสมุดวชิรญาณได้จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีผู้ที่ถูกเรียกกันว่าเป็นนักวิชาการบางคน และพรรคพวกที่มีความเห็นอย่างเดียวกัน บางพวกไม่เชื่อว่าเป็นศิลาจารึกที่พ่อขุนรามคำแหงสร้างขึ้นไว้เมื่อประมาณ เจ็ดร้อยปีก่อน จึงได้มีการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ตามที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเสนอแนะไว้ในคราวประชุมใหญ่ ฯ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ โดยมอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ ประจำกรมศิลปากร และกรมทรัพยากรธรณี ทำการวิจัยเรื่อง การพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ โดยนำศิลาจารึกที่ทำด้วยหินทรายแป้ง ชนิดเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ และถูกทิ้งกรำแดดกรำฝน คือศิลาจารึกวัดพระบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร (จารึกหลักที่ ๓) ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ (จารึกหลักที่ ๔๕) พระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกชีผ้าขาวเพสสันดรวัดข้าวสารมาเปรียบเทียบกัน ผู้วิจัยได้ใช้แว่นขยายรังสีอัลตร้าไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจพิสูจน์ เมื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์หลาย ๆ จุดบนตัวอย่างแต่ละตัวอย่างแล้ว หาค่าเฉลี่ยพบว่า ความแตกต่างขององค์ประกอบที่ผิวกับส่วนที่อยู่ข้างในของศิลาจารึกหลักที่ ๑ หลักที่ ๓ และหลักที่ ๔๕ มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน จึงสรุปผลการพิสูจน์ว่า
"ผลปรากฏว่าผิวของหินตรงร่องที่เกิดจากการจารึกตัวอักษรมีปริมาณแคลไซด์ ลดลงมากใกล้เคียงกับผิวส่วนอื่น ๆ ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ จนสามารถมองเห็นเป็นชั้นที่มีความแตกต่างได้ชัดเจน แสดงว่าเป็นการจารึกในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันกับการสกัดก้อนหินออกมาเป็นแท่งแล้วขัดผิวให้เรียบ มิใช่เป็นการนำแท่งหินที่ขัดผิวไว้เรียบร้อยในสมัยสุโขทัย แล้วนำมาจารึกขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ "
จากความจริงที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว แสดงว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้ผ่านกระบวนการสึกกร่อนผุสลายมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึก หลักที่ ๓ หลักที่ ๔๕ และหลักที่กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสัดร จึงเป็นอันยุติว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นของดั้งเดิม มิใช่ทำขึ้นใหม่ อย่างที่กลุ่มคนบางจำพวกยกเป็นประเด็นขึ้นมา สาระสำคัญของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เบื้องต้นเป็นการบอกเล่า พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงบอกเล่าด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงขึ้นครองราชย์ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย และวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยสุโขทัย ที่อยู่ร่วมกันด้วยน้ำใจไมตรี เคารพในสิทธิเสรีภาพของกันและกัน ความมีใจบุญสุนทาน เอื้ออาทรกัน ให้ทานและรักษาศีลกันเป็นประจำ
ในจารึกให้ข้อมูลว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ในปีมหาศักราช ๑๒๐๕ ซึ่งตรงกับ ปี พ.ศ.๑๘๒๖ ต่อมาในปี มหาศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๑๘๓๕) พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ช่างนำหินทรายแป้งมาทำพระแท่นชื่อ พระแท่นมนังคศิลาบาตร ตั้งไว้ที่กลางดงตาล ในวันพระแปดค่ำ สิบห้าค่ำ จะนิมนต์พระเถระขึ้นนั่งบนพระแท่นแล้วแสดงธรรมให้ลูกจ้าวลูกขุนไพร่ฟ้าข้าไท ท่วยปั่ง ท่วยนางทั้งหลายได้สดับตรับฟัง ในวันธรรมดาพ่อขุนรามคำแหง ทรงขึ้นประทับนั่งว่าราชการงานเมือง และตัดสินคดีความที่ไพร่ฟ้าหน้าปกมาร้องทุกข์ ทรงโปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ เพื่อให้ผู้ที่มีความทุกข์ร้อนมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์
ด้านการพระพุทธศาสนา พ่อขุนรามคำแหงทรงอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราชมาร่วมกับภิกษุสงฆ์ฝ่ายเถรวาทเดิม ผู้สืบทอดมาแต่พระโสนะเถระ และพระอุตรเถระให้มาอบรมสั่งสอนชาวสุโขทัย ปรากฏว่าพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสีอย่างชัดเจน มีการตั้งสมณศักดิ์เป็นปู่ครู เถระ มหาเถระ แก่พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งในทางปกครอง คนสุโขทัยในสมัยนั้น จึงทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน โดยวันธรรมดารักษาศีลห้า ในวันธรรมสวนะ หรือวันพระรักษาศีลแปด หรือศีลอุโบสถตามแต่ศรัทธา
ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง มีงานนักขัตฤกษ์เผาเทียนเล่นไฟ อันเป็นที่มาของงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของชาวสุโขทัย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
ด้านการปกครอง จารึกไว้ว่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันออกตั้งแต่สรลวงสองแคว (พิษณุโลก) เลย จากลุมบาจายสะคาไปถึงเวียงจันทน์ ทิศใต้ตั้งแต่สุพรรณบุรี ราชบุรี เลยนครศรีธรรมราชไปสุดแผ่นดินจดทะเลมหาสมุทร ทิศตะวันตกเลยเมืองฉอด ไปถึงเมืองหงสาวดีมีมหาสมุทรเป็นแดน ทิศเหนือถึงแพร่ น่าน ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองหลวงพระบาง
ศิลาจารึกวัดศรีชุม เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำด้วยหินดินดานเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๖๗ เซนติเมตร สูง ๒๗๕ เซนติเมตร หนา ๘ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย มี ๑๐๗ บรรทัด ด้านที่สองมี ๙๕ บรรทัด มีอายุประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๘๐ - ๑๙๑๐ นายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ เมื่อครั้งเป็นที่หลวงสโมสรพลการ พบที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามี เป็นเจ้าได้ให้ศิษย์ของท่าน จารทำบอกเล่าให้เราให้ทราบเรื่องของคนไทยสมัยก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงเล่าไว้ว่า ท่านเกิดในนครสรลางสองแคว (พิษณุโลก) เป็นโอรสพระยาคำแหงพระราม เป็นหลานปู่พ่อขุนนาวนำถุม หรือพระยาศรีนาวนำถุม ซึ่งเสวยราชย์ในนครสองอัน อันหนึ่งชื่อ นครสุโขไท อีกอันหนึ่งชื่อ นครสรีเสชนาไล (ศรีสัชนาลัย) ภายหลังประทับอยู่ที่นครสุโขทัยแห่งเดียว ส่วนนครศรีสัชนาลัยนั้นทรงตั้งขุนยี่ คือ อุปราชปกครอง โอรสองค์โตชื่อ ขุนผาเมือง ให้ไปครองเมืองราด เมืองลุม เป็นราชบุตรเขยของผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ (พระเจ้าชัยวรมันที่แปด) และดำรงตำแหน่งยุวราชแห่งศรีโสธรปุระด้วย โอรสอีกองค์หนึ่งชื่อพระยาคำแหงพระราม (พระบิดาสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ) ให้ครองนครสรลวงสองแคว
เมื่อสิ้นพ่อขุนนาวนำถุมแล้ว ขอมสบาดโขลนลำพง ยึดอำนาจการปกครอง พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งดำรงตำแหน่งขุนยี่ครองนครศรีสัชนาลัย จึงขึ้นไปเมืองบางยาง ได้รวบรวมพลร่วมกับพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นสหาย โดยจัดทัพแยกกันเป็นสองทาง ขุนบางกลางหาวยกกำลังเข้ายึดศรีสัชนาลัยคืนได้แล้ว ก็นำกำลังมารวมกับกำลังของขุนผาเมืองที่เมืองบางขลัง แต่แต่งกลอุบายให้ขอมสบาดโขลนลำพงยกกำลังไปรบกับขุนบางกลางหาว แล้วขุนผาเมืองก็ยกกำลังเข้ายึดสุโขทัยได้ ขอมสบาดโขลนลำพงเสียรู้แตกกลับไป
ขุนผาเมืองเชิญขุนบางกลางหาวเข้าเมืองสุโขทัย แล้วอภิเษกให้ครองเมืองสุโขทัย พร้อมทั้งให้นามเกียรติของตนที่ได้จากผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระว่า ศรีอินทรบดินทราทิตย์ ขุนบางกลางหาวจึงมีพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ ได้เล่าเรื่องของท่านเองตั้งแต่เยาว์จนถึงหนุ่ม ได้ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระยาคำแหงพระรามผู้เป็นบิดา ครั้งสุดท้ายรบชนะขุนจัง แล้วมองเห็นความทุกข์ความไม่เที่ยงในโลกีย์วิสัย จึงสละสมบัติออกบวชแล้วเดินธุดงค์ไปเที่ยวทุกแห่ง เข้าไปสู่อินเดียตอนใต้ แล้วไปถึงลังกาทวีป พบเห็นมหิยังคณะมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ปรักหักพังเกิดศรัทธา จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อพระองค์ได้กระทำสักการบูชาพระมหาธาตุเจดีย์ ก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์แก่พระองค์และชาวสิงหล พระองค์จึงได้รับการยกย่องเทิดทูนจากชาวสิงหล สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีศรัทธา ฯ พระองค์ประทับอยู่ที่ลังกาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเดินทางกลับสุโขทัย และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิมาด้วย เมื่อมาถึงสุโขทัยก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และกิ่งพระศรีมหาโพธิ ประดิษฐาน ณ นครสุโขทัย บางฉลัง ศรีสัชนาไลย เพื่อให้เป็นเมืองธรรมจึงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ สร้างพิหารเจ้าอาวาส สร้างพระพุทธรูปอันงามพิจิตร
ท่านได้ไปเที่ยวโปรดสัตว์ ไปพบพระมหาธาตุเจดีย์ปรักหักพังอยู่กึ่งกลางนครพระกริส จึงอธิษฐานบารมีจนพบแหล่งปูน ท่านได้นำมาก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ จากเดิมที่สูง ๙๕ วาไม้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วได้ความสูง ๑๐๒ วา พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ขอมเรียกว่า พระธม ส่วนปูนที่เหลือท่านได้นำไปซ่อมแซมพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก
ศิลาจารึกนครชุม เรียกว่า จารึกหลักที่ ๓ ทำด้วยหินทรายแป้งเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๔๗ เซนติเมตร สูง ๑๙๓ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทยด้านที่หนึ่งมี ๗๘ บรรทัด ด้านที่สองมี ๕๘ บรรทัด สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบที่วัดบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ บอกให้ทราบในเบื้องต้นว่า พระยาลือไทยโอรสพระยาเลอไทย พระนัดดาพระยารามราช เสวยราชที่เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐ เมื่อเสวยราชย์แล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายแต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลามาไหว้อันยัดยัญอภิเษก เป็นท้าวเป็นพระญา ชื่อ ศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช ทรงได้พระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิ จากลังกาทวีปใน ปี พ.ศ.๑๙๐๐ จึงทรงนำไปประดิษฐานในเมืองนครชุม และทรงจารึกไว้ว่า "...ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธินี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล..."
พระมหาธรรมราชาลิไททรงเชื่อว่าพระพุทธศาสนา จะมีอายุดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ห้าพันปี จึงทรงจารึกไว้ว่า "...ผิมีคนมาถามศาสนาพระเป็นเจ้ายังเท่าใดจักสิ้นอั้นให้แก่ว่าดังนี้ แต่ปีอันสถาปนาพระมหาธาตุนี้เมื่อหน้าได้สามพันเก้าสิบเก้าปีจึงจักสิ้นพระศาสนาพระเป็นเจ้า..." และยังได้ตรัสถึงสัทธรรมอันตรธานห้าประการ คือ ประมาณพระพุทธศาสนายุกาลได้ ๑๙๙๙ ปี พระไตรปิฎกจักหาย หาคนรู้แท้มิได้ มีคนรู้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น พระธรรมเทศนามหาชาติหาคนสวดมิได้ ชาดกมีต้นหาปลายมิได้ พระอภิธรรมนั้น พระปัฏฐานและพระยมกหายไปก่อน เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๒๙๙๙ ปี "...ฝูงภิกษุสงฆ์จำศีลคงสิกขาบทสี่อันยังมีสิกขาบทอันหนักหนาหามิได้เลย " เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๓๙๙๙ "...ฝูงชีจักทรงผ้าจีวรหามิได้เลย เท่ายังมีผ้าเหลืองน้อยหนึ่งเหน็บใบหู และรู้จักศาสนาพระเป็นเจ้าดายุ..." เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๔๙๙๙ ปี "...อันว่าจักรู้จักผ้าจีวรจักรู้จักสมณะน้อยหนึ่งหามิได้เลย..." เมื่อสิ้นอายุพระศาสนานั้นทรงพรรณาไว้ว่า
"...เมื่อปีอันจักสิ้นศาสนา พระพุทธเป็นเจ้าที่สุดทั้งหลายอั้น ปีชวด เดือนหก บูรณมี วันเสาร์ วันไทยวันระรายสันวันไพสาขฤกษ์ เถิงเมื่อวันดังนั้น แต่พระธาตุทั้งหลายอันมีในแผ่นดินนี้ก็ดี ในเทพโลกก็ดี ในนาคโลกก็ดี เหาะไปในกลางหาว และไปประชุมกันในลังกาทวีป แล้วจักเหาะไปอยู่ในต้นพระศรีมหาโพธิ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่สรรเพชญตญาณ เป็นพระพุทธแต่ก่อนอั้น จึงจักกาลไฟไหม้พระธาตุทั้งอั้นสิ้นแล เปลวไฟพลุ่งขึ้นคุงพรหมโลกศาสนาพระพุทธจักสิ้น ในวันดังกล่าวอั้นแล "
ศิลาจารึกวัดป่าม่วง เป็นภาษาไทยสองหลัก เป็นภาษาบาลีหนึ่งหลัก
จารึกภาษาไทยหลักที่ ๑ เรียกว่า จารึกหลักที่ ๕ ทำด้วยหินทราย หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๙ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๑๕ เซนติเมตร พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) พบที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ข้อความที่จารึกบอกให้ทราบว่าบริเวณวัดป่ามะม่วง เป็นรมณียสถานที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงปลูกมะม่วงไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และเป็นพัทธสีมาที่ทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ก่อนถึงกาลทรงผนวชได้กล่าวถึงอดีตว่า เมื่อพรญาลือไท ผู้รู้พระไตรปิฎกขึ้นเสวยราชย์ ท้าวพระยาทั้งหลายอภิเษกขึ้นชื่อ ศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช เสวยราชย์ชอบด้วยทศพิธราชธรรม ในปี พ.ศ.๑๙๐๔ ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชลังกาวงศ์ จากนครพันมาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย ทรงหล่อพระพุทธรูปด้วยเนื้อทองสำริดองค์ใหญ่ ประดิษฐานด้านตะวันออกองค์มหาธาตุเจดีย์กลางเมืองสุโขทัย เมื่อออกพรรษาแล้วทรงสมาทานทศศีลเป็นดาบศ... หน้าพระพุทธรูปทอง อันประดิษฐานไว้เหนือราชมณเฑียร อาราธนาพระมหาสามีพร้อมคณะสงฆ์ขึ้นสู่ราชมณเฑียร ทรงบรรพชาเป็นสามเณร แล้วเสด็จไปทรงผนวช ณ พัทธสีมาวัดป่ามะม่วงในที่สุด
จารึกภาษาไทยหลักที่ ๒ เรียกว่า จารึกหลักที่ ๗ ทำด้วยหินทรายแปร หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๑๒.๕ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๒ เซนติเมตร พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
จากรึกหลักนี้ชำรุดมาก ด้านที่หนึ่งกับด้านที่สามอ่านจับความไม่ได้ ด้านที่สองกับด้านที่สี่พออ่านได้บ้าง เป็นการจารึกเรื่องราวของการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ในป่ามะม่วง เช่น กุฎี พิหาร สีมากระลาอุโบสถ และการทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
จารึกภาษาเขมร เรียกว่า จารึกหลักที่ ๔ ทำด้วยหินแปร เป็นหลักสี่เหลี่ยมกระโจม หรือทรงยอ กว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๒๐๐ เซนติเมตร หนา ๒๙ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบที่โคกปราสาทร้างเมื่อคราวเสด็จถึงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาเขมร เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติพระนคร
ข้อความในจารึกเป็นเรื่องราวคล้ายจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาไทยหลักที่หนึ่ง คือ พระยาลิไทยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช จากนครพันมาสุโขทัย เพื่อทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวชของพระองค์ และเล่าเรื่องพระยาลิไทย ยกพลจากศรีสัชนาลัยมายึดสุโขทัยขึ้นเสวยราชย์ตามสิทธิอันชอบธรรม
จากรึกภาษาบาลี เรียกว่า จารึกหลักที่ ๖ ทำด้วยหินแปรรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๓ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๗ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๐ เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลีเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ข้อความที่จารึกเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช พระอุปัชฌาย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย มีข้อความสรรเสริญพระมหาธรรมราชา ที่ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า ในพระพุทธศาสนา
ศิลาจารึกวัดอโสการาม เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ ทำด้วยหินแปร เป็นแผ่นรูปใบเสมา กว้าง ๕๔ เซนติเมตร สูง ๑๓๔ เซนติเมตร หนา ๑๕ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งมี ๔๗ บรรทัด จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่สองมี ๕๑ บรรทัด จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากรพบที่วัดอโสการามเมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติพระนคร
ข้อความในจารึกมีว่า สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมเหสีเทพธรณีโลกรัตน... เป็นชายาแด่สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช กอร์ปด้วยปัญจพิธกัลยาณีมีศีลพระ...
ศิลาจารึกวัดบูรพาราม เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒๘๖ ทำด้วยหินชนวนสีเขียว รูปใบเสมา ส่วนล่างชำรุดหักหาย มีขนาดกว้าง ๕๙ เซนติเมตร สูง ๑๔๖ เซนติเมตร หนา ๑๒ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งมี ๕๕ บรรทัด จารึกด้วยอักษรสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่สองมี ๕๖ บรรทัด จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ พระครูปลัดสนธิ จิตฺตปญฺโญ วัดศาลาครืน เขตจอมทอง กรุงเทพ ฯ ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ ซึ่งได้พระราชทานให้กรมศิลปากรจัดแสดงเพื่อการศึกษา ณ อาคารหอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ พระนคร
จารึกวัดบูรพารามระบุว่า สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมหิดิเทพยธรณีดิลกรัตนบพิตร เป็นเจ้า ผู้เป็นบาทบริจาริการัตนชายา แด่สมเด็จพระมหาธรรมราชา กอร์ปด้วยปัญจพิธกัลยาณี มีศิลพิริยะปรีชา...
จารึกวัดบูรพารามบอกเล่าพระราชประวัติ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชสามี สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๑๑ ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๖ ปี ได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๙ และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๑ ในปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ จึงทรงสร้างวัดบูรพาราม ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ในจารึกหลักนี้ สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงระบุสายสัมพันธ์ราชสกุล ตามลำดับพระราชอิสริยยศ คือ
- สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
- สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
- สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
- สมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
- ศรีธรรมาโศกราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
การสร้างวัด ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และการทำบุญต่าง ๆ นั้น สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงอุทิศแด่สมเด็จปู่พระญา พ่อออก แม่ออก สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระศรีธรรมราชมารดา และทรงอธิษฐานว่า ขอให้ได้เกิดเป็นผู้ชายในอนาคตกาล ขอให้ได้สดับตรับฟังธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเมตไตรย ขอพระพุทธเมตไตรยดำรัสสรรเสริญพระนางท่ามกลางพุทธบริษัท ขออย่าให้ผู้อื่นเทียมทันพระนางด้วยบุญสมภารด้วยรูป ด้วยยศ ด้วยสมบัติในทุกภพทุกชาติไป
นอกจากศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีศิลาจารึกสำคัญ ๆ ของสุโขทัยที่ให้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัยในอดีตอีกมากมาย เช่น ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ จารึกวัดพระยืน จารึกวัดสรศักดิ์ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึกปู่สบถ จารึกวัดเขากบ จารึกวัดเขมา จารึกวัดป่าแดง จารึกพระธรรมกาย จารึกพระอภิธรรม จารึกวัดตาเถรขึ้หนัง จารึกวัดกำแพงงาม จารึกวัดพระเสด็จ จารึกนายศรีโยธาราชออกบวช จารึกภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม ๔๘ ภาพ กับจารึกอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย ให้รู้ว่าไทยเป็นประเทศเอกราชมีเอกลักษณ์ของตนเอง และเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นติดต่อกันมานานไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปีมาแล้ว
คำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ด้านที่ ๑
พ่อกู ชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญีงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยักเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้ สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมือง แพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพ่อกู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใคร่จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื้อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใครพีน เห็นสินท่านบ่ใครเดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี ในปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว ้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้
ด้านที่ ๒
ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพยสี ใสกินดี ... ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุโขทันนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียง กันแต่อญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถร เบื้องตะวันตก เมืองสุโขทัยนี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำ โอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณื่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันณื่ง ลุกยืน เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกส้
ด้านที่ ๓
(งแต่)ง เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรดีภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ชั่งพันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจำศีล ผิใช่วันสูดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดานหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง เที้ยรย่อมทองงา... (ซ้าย) ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ (เถิง) อรัญญิกแล้วเข้ามา จารึกอันณื่ง มีในเมืองชเลียง สถาบกไว้ ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันณื่ง มีในถ้ำรัตนธาร ในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันณื่งชื่อศาลาพระมาส อันณื่งชื่อพุทธศานา ขดานหินนี้ ชื่อมนังศิลาบาตร สถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น
ด้านที่ ๔
พ่อขุนพระรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนในเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากกาวลาว แลไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฎ... ไทยชาวอูชาวของมาออก ๑๒๐๗ ศกปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชชนาลัยก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำแหงนั้นหา เป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วย รู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าเสีก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอด สรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้(อ)งหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพรชบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน... เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยง ฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0-5561-4304 โทรสาร 0-5561-1619
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ E-mail : sukhothai@moi.go.th , sukhothai_gov@thaimail.com
http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm
ศิลาจารึกเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ในด้านภาษาศาสตร์ อักษรศาสตร์ และนิรุกติศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของเนื้อหาสาระ ถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ ที่แสดงวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของจารึก ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฏ ขณะทรงผนวชได้เสด็จจาริกไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ทรงค้นพบศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ อันเป็นหลักลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ จากนั้นก็ได้มีการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของศิลาจารึกอีกหลายหลัก ที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยสุโขทัย ศิลาจารึกที่สลักขึ้นในสมัยสุโขทัย ที่มีการชำระ และแปลแล้วนำมาพิมพ์รวบรวมไว้ใน ประชุมจารึกสยามภาคที่ ๑ พ.ศ.๒๔๖๗ มีจำนวน ๑๕ หลัก จากนั้นได้มีการศึกษาเพิ่มเติม และจัดพิมพ์เผยแพร่ โดยมีหอสมุดแห่งชาติเป็นหน่วยหลักหลายครั้ง เฉพาะที่เป็นจารึกสมัยสุโขทัย ได้มีการรวบรวมจัดพิมพ์อีกในหนังสือจารึกสมัยสุโขทัย โดยกรมศิลปากร เนื่องในโอกาสฉลอง ๗๐๐ ปี ลายสือไทย พ.ศ.๒๕๒๖ ได้จัดกลุ่มจารึกสุโขทัยตามลักษณะของตัวอักษร จำแนกไว้เป็น ๕ กลุ่ม คือ
- จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรขอมสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรไทยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรขอมสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรขอมขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรไทยสุโขทัย
- จารึกที่ใช้อักษรไทยสุโขทัยขึ้นต้น และต่อด้วยอักษรธรรมล้านนา
จากรึกสุโขทัยที่พบและอ่านแล้วมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐๐ หลัก ที่สำคัญมี ดังนี้
ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ทำจากหินทรายแป้ง ลักษณะเป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๕ เซนติเมตร สูง ๑๑๑ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ปี พ.ศ.๑๘๓๕ เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า จารึกหลักที่ ๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ขณะทรงผนวชได้เสด็จจาริกหัวเมืองฝ่ายเหนือ ถึงเมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกหลักนี้พร้อมพระแท่นมนังคศิลาบาตร ณ โคกปราสาทร้าง จึงได้โปรดให้นำเข้ากรุงเทพ ฯ ในขั้นแรกเก็บรักษาไว้ที่วัดราชาธิวาส เพราะทรงประทับอยู่ ณ ที่วัดนั้น ต่อมาเมื่อทรงย้ายไปประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร จึงโปรดให้ย้ายไปไว้ที่วัดบวร ฯ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ทรงอ่านศิลาจารึกหลักนี้ได้เป็นพระองค์แรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ และหอสมุดวชิรญาณได้จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีผู้ที่ถูกเรียกกันว่าเป็นนักวิชาการบางคน และพรรคพวกที่มีความเห็นอย่างเดียวกัน บางพวกไม่เชื่อว่าเป็นศิลาจารึกที่พ่อขุนรามคำแหงสร้างขึ้นไว้เมื่อประมาณ เจ็ดร้อยปีก่อน จึงได้มีการพิสูจน์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ตามที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเสนอแนะไว้ในคราวประชุมใหญ่ ฯ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๒ โดยมอบหมายให้นักวิทยาศาสตร์ ประจำกรมศิลปากร และกรมทรัพยากรธรณี ทำการวิจัยเรื่อง การพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ โดยนำศิลาจารึกที่ทำด้วยหินทรายแป้ง ชนิดเดียวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ และถูกทิ้งกรำแดดกรำฝน คือศิลาจารึกวัดพระบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร (จารึกหลักที่ ๓) ศิลาจารึกวัดมหาธาตุ (จารึกหลักที่ ๔๕) พระแท่นมนังคศิลาบาตร และจารึกชีผ้าขาวเพสสันดรวัดข้าวสารมาเปรียบเทียบกัน ผู้วิจัยได้ใช้แว่นขยายรังสีอัลตร้าไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจพิสูจน์ เมื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์หลาย ๆ จุดบนตัวอย่างแต่ละตัวอย่างแล้ว หาค่าเฉลี่ยพบว่า ความแตกต่างขององค์ประกอบที่ผิวกับส่วนที่อยู่ข้างในของศิลาจารึกหลักที่ ๑ หลักที่ ๓ และหลักที่ ๔๕ มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน จึงสรุปผลการพิสูจน์ว่า
"ผลปรากฏว่าผิวของหินตรงร่องที่เกิดจากการจารึกตัวอักษรมีปริมาณแคลไซด์ ลดลงมากใกล้เคียงกับผิวส่วนอื่น ๆ ของศิลาจารึกหลักที่ ๑ จนสามารถมองเห็นเป็นชั้นที่มีความแตกต่างได้ชัดเจน แสดงว่าเป็นการจารึกในช่วงเวลาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันกับการสกัดก้อนหินออกมาเป็นแท่งแล้วขัดผิวให้เรียบ มิใช่เป็นการนำแท่งหินที่ขัดผิวไว้เรียบร้อยในสมัยสุโขทัย แล้วนำมาจารึกขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ "
จากความจริงที่พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ดังกล่าว แสดงว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้ผ่านกระบวนการสึกกร่อนผุสลายมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ใกล้เคียงกับศิลาจารึก หลักที่ ๓ หลักที่ ๔๕ และหลักที่กล่าวถึงชีผ้าขาวเพสสัดร จึงเป็นอันยุติว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เป็นของดั้งเดิม มิใช่ทำขึ้นใหม่ อย่างที่กลุ่มคนบางจำพวกยกเป็นประเด็นขึ้นมา สาระสำคัญของศิลาจารึกหลักที่ ๑ เบื้องต้นเป็นการบอกเล่า พระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งทรงบอกเล่าด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่ทรงพระเยาว์จนถึงขึ้นครองราชย์ แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย และวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยสุโขทัย ที่อยู่ร่วมกันด้วยน้ำใจไมตรี เคารพในสิทธิเสรีภาพของกันและกัน ความมีใจบุญสุนทาน เอื้ออาทรกัน ให้ทานและรักษาศีลกันเป็นประจำ
ในจารึกให้ข้อมูลว่า พ่อขุนรามคำแหงทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น ในปีมหาศักราช ๑๒๐๕ ซึ่งตรงกับ ปี พ.ศ.๑๘๒๖ ต่อมาในปี มหาศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๑๘๓๕) พ่อขุนรามคำแหงทรงให้ช่างนำหินทรายแป้งมาทำพระแท่นชื่อ พระแท่นมนังคศิลาบาตร ตั้งไว้ที่กลางดงตาล ในวันพระแปดค่ำ สิบห้าค่ำ จะนิมนต์พระเถระขึ้นนั่งบนพระแท่นแล้วแสดงธรรมให้ลูกจ้าวลูกขุนไพร่ฟ้าข้าไท ท่วยปั่ง ท่วยนางทั้งหลายได้สดับตรับฟัง ในวันธรรมดาพ่อขุนรามคำแหง ทรงขึ้นประทับนั่งว่าราชการงานเมือง และตัดสินคดีความที่ไพร่ฟ้าหน้าปกมาร้องทุกข์ ทรงโปรดให้แขวนกระดิ่งไว้ เพื่อให้ผู้ที่มีความทุกข์ร้อนมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์
ด้านการพระพุทธศาสนา พ่อขุนรามคำแหงทรงอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายลังกาวงศ์ จากนครศรีธรรมราชมาร่วมกับภิกษุสงฆ์ฝ่ายเถรวาทเดิม ผู้สืบทอดมาแต่พระโสนะเถระ และพระอุตรเถระให้มาอบรมสั่งสอนชาวสุโขทัย ปรากฏว่าพระภิกษุสงฆ์ฝ่ายคามวาสี และอรัญวาสีอย่างชัดเจน มีการตั้งสมณศักดิ์เป็นปู่ครู เถระ มหาเถระ แก่พระภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งในทางปกครอง คนสุโขทัยในสมัยนั้น จึงทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน โดยวันธรรมดารักษาศีลห้า ในวันธรรมสวนะ หรือวันพระรักษาศีลแปด หรือศีลอุโบสถตามแต่ศรัทธา
ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง มีงานนักขัตฤกษ์เผาเทียนเล่นไฟ อันเป็นที่มาของงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ของชาวสุโขทัย มีชื่อเสียงไปทั่วโลก
ด้านการปกครอง จารึกไว้ว่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันออกตั้งแต่สรลวงสองแคว (พิษณุโลก) เลย จากลุมบาจายสะคาไปถึงเวียงจันทน์ ทิศใต้ตั้งแต่สุพรรณบุรี ราชบุรี เลยนครศรีธรรมราชไปสุดแผ่นดินจดทะเลมหาสมุทร ทิศตะวันตกเลยเมืองฉอด ไปถึงเมืองหงสาวดีมีมหาสมุทรเป็นแดน ทิศเหนือถึงแพร่ น่าน ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองหลวงพระบาง
ศิลาจารึกวัดศรีชุม เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒ ทำด้วยหินดินดานเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๖๗ เซนติเมตร สูง ๒๗๕ เซนติเมตร หนา ๘ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งจารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย มี ๑๐๗ บรรทัด ด้านที่สองมี ๙๕ บรรทัด มีอายุประมาณ ปี พ.ศ.๑๘๘๐ - ๑๙๑๐ นายพลโท พระยาสโมสรสรรพการ เมื่อครั้งเป็นที่หลวงสโมสรพลการ พบที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๐ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามี เป็นเจ้าได้ให้ศิษย์ของท่าน จารทำบอกเล่าให้เราให้ทราบเรื่องของคนไทยสมัยก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงเล่าไว้ว่า ท่านเกิดในนครสรลางสองแคว (พิษณุโลก) เป็นโอรสพระยาคำแหงพระราม เป็นหลานปู่พ่อขุนนาวนำถุม หรือพระยาศรีนาวนำถุม ซึ่งเสวยราชย์ในนครสองอัน อันหนึ่งชื่อ นครสุโขไท อีกอันหนึ่งชื่อ นครสรีเสชนาไล (ศรีสัชนาลัย) ภายหลังประทับอยู่ที่นครสุโขทัยแห่งเดียว ส่วนนครศรีสัชนาลัยนั้นทรงตั้งขุนยี่ คือ อุปราชปกครอง โอรสองค์โตชื่อ ขุนผาเมือง ให้ไปครองเมืองราด เมืองลุม เป็นราชบุตรเขยของผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ (พระเจ้าชัยวรมันที่แปด) และดำรงตำแหน่งยุวราชแห่งศรีโสธรปุระด้วย โอรสอีกองค์หนึ่งชื่อพระยาคำแหงพระราม (พระบิดาสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ) ให้ครองนครสรลวงสองแคว
เมื่อสิ้นพ่อขุนนาวนำถุมแล้ว ขอมสบาดโขลนลำพง ยึดอำนาจการปกครอง พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งดำรงตำแหน่งขุนยี่ครองนครศรีสัชนาลัย จึงขึ้นไปเมืองบางยาง ได้รวบรวมพลร่วมกับพ่อขุนผาเมืองผู้เป็นสหาย โดยจัดทัพแยกกันเป็นสองทาง ขุนบางกลางหาวยกกำลังเข้ายึดศรีสัชนาลัยคืนได้แล้ว ก็นำกำลังมารวมกับกำลังของขุนผาเมืองที่เมืองบางขลัง แต่แต่งกลอุบายให้ขอมสบาดโขลนลำพงยกกำลังไปรบกับขุนบางกลางหาว แล้วขุนผาเมืองก็ยกกำลังเข้ายึดสุโขทัยได้ ขอมสบาดโขลนลำพงเสียรู้แตกกลับไป
ขุนผาเมืองเชิญขุนบางกลางหาวเข้าเมืองสุโขทัย แล้วอภิเษกให้ครองเมืองสุโขทัย พร้อมทั้งให้นามเกียรติของตนที่ได้จากผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระว่า ศรีอินทรบดินทราทิตย์ ขุนบางกลางหาวจึงมีพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา ฯ ได้เล่าเรื่องของท่านเองตั้งแต่เยาว์จนถึงหนุ่ม ได้ออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระยาคำแหงพระรามผู้เป็นบิดา ครั้งสุดท้ายรบชนะขุนจัง แล้วมองเห็นความทุกข์ความไม่เที่ยงในโลกีย์วิสัย จึงสละสมบัติออกบวชแล้วเดินธุดงค์ไปเที่ยวทุกแห่ง เข้าไปสู่อินเดียตอนใต้ แล้วไปถึงลังกาทวีป พบเห็นมหิยังคณะมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า ปรักหักพังเกิดศรัทธา จึงได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เมื่อพระองค์ได้กระทำสักการบูชาพระมหาธาตุเจดีย์ ก็เกิดปาฏิหาริย์เป็นที่ประจักษ์แก่พระองค์และชาวสิงหล พระองค์จึงได้รับการยกย่องเทิดทูนจากชาวสิงหล สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีศรัทธา ฯ พระองค์ประทับอยู่ที่ลังกาเป็นเวลาพอสมควรแล้วจึงเดินทางกลับสุโขทัย และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิมาด้วย เมื่อมาถึงสุโขทัยก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และกิ่งพระศรีมหาโพธิ ประดิษฐาน ณ นครสุโขทัย บางฉลัง ศรีสัชนาไลย เพื่อให้เป็นเมืองธรรมจึงได้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ สร้างพิหารเจ้าอาวาส สร้างพระพุทธรูปอันงามพิจิตร
ท่านได้ไปเที่ยวโปรดสัตว์ ไปพบพระมหาธาตุเจดีย์ปรักหักพังอยู่กึ่งกลางนครพระกริส จึงอธิษฐานบารมีจนพบแหล่งปูน ท่านได้นำมาก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ จากเดิมที่สูง ๙๕ วาไม้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วได้ความสูง ๑๐๒ วา พระมหาธาตุเจดีย์องค์นี้ขอมเรียกว่า พระธม ส่วนปูนที่เหลือท่านได้นำไปซ่อมแซมพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก
ศิลาจารึกนครชุม เรียกว่า จารึกหลักที่ ๓ ทำด้วยหินทรายแป้งเป็นรูปใบเสมา กว้าง ๔๗ เซนติเมตร สูง ๑๙๓ เซนติเมตร หนา ๖ เซนติเมตร จารึกอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทยด้านที่หนึ่งมี ๗๘ บรรทัด ด้านที่สองมี ๕๘ บรรทัด สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพบที่วัดบรมธาตุนครชุม เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพ ฯ
สาระสำคัญของจารึกหลักนี้ บอกให้ทราบในเบื้องต้นว่า พระยาลือไทยโอรสพระยาเลอไทย พระนัดดาพระยารามราช เสวยราชที่เมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐ เมื่อเสวยราชย์แล้ว ท้าวพระยาทั้งหลายแต่งกระยาดงวาย ของฝากหมากปลามาไหว้อันยัดยัญอภิเษก เป็นท้าวเป็นพระญา ชื่อ ศรีสุริยพงศ์มหาธรรมราชาธิราช ทรงได้พระบรมสารีริกธาตุพร้อมกิ่งพระศรีมหาโพธิ จากลังกาทวีปใน ปี พ.ศ.๑๙๐๐ จึงทรงนำไปประดิษฐานในเมืองนครชุม และทรงจารึกไว้ว่า "...ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตนมหาธาตุ และพระศรีมหาโพธินี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบตนพระเป็นเจ้าบ้างแล..."
พระมหาธรรมราชาลิไททรงเชื่อว่าพระพุทธศาสนา จะมีอายุดำรงอยู่ในโลกนี้ได้ห้าพันปี จึงทรงจารึกไว้ว่า "...ผิมีคนมาถามศาสนาพระเป็นเจ้ายังเท่าใดจักสิ้นอั้นให้แก่ว่าดังนี้ แต่ปีอันสถาปนาพระมหาธาตุนี้เมื่อหน้าได้สามพันเก้าสิบเก้าปีจึงจักสิ้นพระศาสนาพระเป็นเจ้า..." และยังได้ตรัสถึงสัทธรรมอันตรธานห้าประการ คือ ประมาณพระพุทธศาสนายุกาลได้ ๑๙๙๙ ปี พระไตรปิฎกจักหาย หาคนรู้แท้มิได้ มีคนรู้เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น พระธรรมเทศนามหาชาติหาคนสวดมิได้ ชาดกมีต้นหาปลายมิได้ พระอภิธรรมนั้น พระปัฏฐานและพระยมกหายไปก่อน เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๒๙๙๙ ปี "...ฝูงภิกษุสงฆ์จำศีลคงสิกขาบทสี่อันยังมีสิกขาบทอันหนักหนาหามิได้เลย " เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๓๙๙๙ "...ฝูงชีจักทรงผ้าจีวรหามิได้เลย เท่ายังมีผ้าเหลืองน้อยหนึ่งเหน็บใบหู และรู้จักศาสนาพระเป็นเจ้าดายุ..." เมื่อพระพุทธศาสนายุกาลประมาณได้ ๔๙๙๙ ปี "...อันว่าจักรู้จักผ้าจีวรจักรู้จักสมณะน้อยหนึ่งหามิได้เลย..." เมื่อสิ้นอายุพระศาสนานั้นทรงพรรณาไว้ว่า
"...เมื่อปีอันจักสิ้นศาสนา พระพุทธเป็นเจ้าที่สุดทั้งหลายอั้น ปีชวด เดือนหก บูรณมี วันเสาร์ วันไทยวันระรายสันวันไพสาขฤกษ์ เถิงเมื่อวันดังนั้น แต่พระธาตุทั้งหลายอันมีในแผ่นดินนี้ก็ดี ในเทพโลกก็ดี ในนาคโลกก็ดี เหาะไปในกลางหาว และไปประชุมกันในลังกาทวีป แล้วจักเหาะไปอยู่ในต้นพระศรีมหาโพธิ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่สรรเพชญตญาณ เป็นพระพุทธแต่ก่อนอั้น จึงจักกาลไฟไหม้พระธาตุทั้งอั้นสิ้นแล เปลวไฟพลุ่งขึ้นคุงพรหมโลกศาสนาพระพุทธจักสิ้น ในวันดังกล่าวอั้นแล "
ศิลาจารึกวัดป่าม่วง เป็นภาษาไทยสองหลัก เป็นภาษาบาลีหนึ่งหลัก
จารึกภาษาไทยหลักที่ ๑ เรียกว่า จารึกหลักที่ ๕ ทำด้วยหินทราย หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๙ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๑๕ เซนติเมตร พระยาโบราณราชธานินทร (พร เดชะคุปต์) พบที่วัดใหม่ (ปราสาททอง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ข้อความที่จารึกบอกให้ทราบว่าบริเวณวัดป่ามะม่วง เป็นรมณียสถานที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงปลูกมะม่วงไว้เป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ได้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และเป็นพัทธสีมาที่ทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ก่อนถึงกาลทรงผนวชได้กล่าวถึงอดีตว่า เมื่อพรญาลือไท ผู้รู้พระไตรปิฎกขึ้นเสวยราชย์ ท้าวพระยาทั้งหลายอภิเษกขึ้นชื่อ ศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช เสวยราชย์ชอบด้วยทศพิธราชธรรม ในปี พ.ศ.๑๙๐๔ ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชลังกาวงศ์ จากนครพันมาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย ทรงหล่อพระพุทธรูปด้วยเนื้อทองสำริดองค์ใหญ่ ประดิษฐานด้านตะวันออกองค์มหาธาตุเจดีย์กลางเมืองสุโขทัย เมื่อออกพรรษาแล้วทรงสมาทานทศศีลเป็นดาบศ... หน้าพระพุทธรูปทอง อันประดิษฐานไว้เหนือราชมณเฑียร อาราธนาพระมหาสามีพร้อมคณะสงฆ์ขึ้นสู่ราชมณเฑียร ทรงบรรพชาเป็นสามเณร แล้วเสด็จไปทรงผนวช ณ พัทธสีมาวัดป่ามะม่วงในที่สุด
จารึกภาษาไทยหลักที่ ๒ เรียกว่า จารึกหลักที่ ๗ ทำด้วยหินทรายแปร หลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๒๘ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๑๒.๕ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๒ เซนติเมตร พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
จากรึกหลักนี้ชำรุดมาก ด้านที่หนึ่งกับด้านที่สามอ่านจับความไม่ได้ ด้านที่สองกับด้านที่สี่พออ่านได้บ้าง เป็นการจารึกเรื่องราวของการสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ในป่ามะม่วง เช่น กุฎี พิหาร สีมากระลาอุโบสถ และการทรงผนวชของสมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
จารึกภาษาเขมร เรียกว่า จารึกหลักที่ ๔ ทำด้วยหินแปร เป็นหลักสี่เหลี่ยมกระโจม หรือทรงยอ กว้าง ๓๐ เซนติเมตร สูง ๒๐๐ เซนติเมตร หนา ๒๙ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบที่โคกปราสาทร้างเมื่อคราวเสด็จถึงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ จารึกด้วยอักษรไทย ภาษาเขมร เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ ภายในหอสมุดแห่งชาติพระนคร
ข้อความในจารึกเป็นเรื่องราวคล้ายจารึกวัดป่ามะม่วงภาษาไทยหลักที่หนึ่ง คือ พระยาลิไทยทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช จากนครพันมาสุโขทัย เพื่อทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ในการทรงผนวชของพระองค์ และเล่าเรื่องพระยาลิไทย ยกพลจากศรีสัชนาลัยมายึดสุโขทัยขึ้นเสวยราชย์ตามสิทธิอันชอบธรรม
จากรึกภาษาบาลี เรียกว่า จารึกหลักที่ ๖ ทำด้วยหินแปรรูปสี่เหลี่ยมทรงกระโจม หรือทรงยอ กว้างด้านละ ๓๓ เซนติเมตรสองด้าน กว้างด้านละ ๒๗ เซนติเมตรสองด้าน สูง ๑๓๐ เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลีเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ พระยารามราชภักดี (ใหญ่ ศรลัมพ์) ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย พบที่วัดป่ามะม่วง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๑ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ข้อความที่จารึกเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสามีสังฆราช พระอุปัชฌาย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย มีข้อความสรรเสริญพระมหาธรรมราชา ที่ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้า ในพระพุทธศาสนา
ศิลาจารึกวัดอโสการาม เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ ทำด้วยหินแปร เป็นแผ่นรูปใบเสมา กว้าง ๕๔ เซนติเมตร สูง ๑๓๔ เซนติเมตร หนา ๑๕ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งมี ๔๗ บรรทัด จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่สองมี ๕๑ บรรทัด จารึกด้วยอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๒ กองโบราณคดี กรมศิลปากรพบที่วัดอโสการามเมืองเก่าสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติพระนคร
ข้อความในจารึกมีว่า สมเด็จพระราชเทพีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมเหสีเทพธรณีโลกรัตน... เป็นชายาแด่สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช กอร์ปด้วยปัญจพิธกัลยาณีมีศีลพระ...
ศิลาจารึกวัดบูรพาราม เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๒๘๖ ทำด้วยหินชนวนสีเขียว รูปใบเสมา ส่วนล่างชำรุดหักหาย มีขนาดกว้าง ๕๙ เซนติเมตร สูง ๑๔๖ เซนติเมตร หนา ๑๒ เซนติเมตร ด้านที่หนึ่งมี ๕๕ บรรทัด จารึกด้วยอักษรสุโขทัย ภาษาไทย ด้านที่สองมี ๕๖ บรรทัด จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ พระครูปลัดสนธิ จิตฺตปญฺโญ วัดศาลาครืน เขตจอมทอง กรุงเทพ ฯ ถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตน ฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ ซึ่งได้พระราชทานให้กรมศิลปากรจัดแสดงเพื่อการศึกษา ณ อาคารหอสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ พระนคร
จารึกวัดบูรพารามระบุว่า สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์อัครราชมหิดิเทพยธรณีดิลกรัตนบพิตร เป็นเจ้า ผู้เป็นบาทบริจาริการัตนชายา แด่สมเด็จพระมหาธรรมราชา กอร์ปด้วยปัญจพิธกัลยาณี มีศิลพิริยะปรีชา...
จารึกวัดบูรพารามบอกเล่าพระราชประวัติ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชสามี สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ประสูติจากพระครรภ์ สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๑๑ ทรงสำเร็จการศึกษาเมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๖ ปี ได้เสวยราชย์เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๙ และเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๑ ในปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์ จึงทรงสร้างวัดบูรพาราม ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
ในจารึกหลักนี้ สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงระบุสายสัมพันธ์ราชสกุล ตามลำดับพระราชอิสริยยศ คือ
- สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
- สมเด็จพระศรีธรรมราชมาดา
- สมเด็จพระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์
- สมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
- ศรีธรรมาโศกราช พระราชโอรสสมเด็จพระราชเทวี ฯ
การสร้างวัด ก่อพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และการทำบุญต่าง ๆ นั้น สมเด็จพระราชเทวี ฯ ทรงอุทิศแด่สมเด็จปู่พระญา พ่อออก แม่ออก สมเด็จมหาธรรมราชาธิราช พระศรีธรรมราชมารดา และทรงอธิษฐานว่า ขอให้ได้เกิดเป็นผู้ชายในอนาคตกาล ขอให้ได้สดับตรับฟังธรรมอันประเสริฐของพระพุทธเมตไตรย ขอพระพุทธเมตไตรยดำรัสสรรเสริญพระนางท่ามกลางพุทธบริษัท ขออย่าให้ผู้อื่นเทียมทันพระนางด้วยบุญสมภารด้วยรูป ด้วยยศ ด้วยสมบัติในทุกภพทุกชาติไป
นอกจากศิลาจารึกหลักต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีศิลาจารึกสำคัญ ๆ ของสุโขทัยที่ให้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์โบราณคดี ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของสุโขทัยในอดีตอีกมากมาย เช่น ศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ จารึกวัดพระยืน จารึกวัดสรศักดิ์ จารึกกฎหมายลักษณะโจร จารึกปู่สบถ จารึกวัดเขากบ จารึกวัดเขมา จารึกวัดป่าแดง จารึกพระธรรมกาย จารึกพระอภิธรรม จารึกวัดตาเถรขึ้หนัง จารึกวัดกำแพงงาม จารึกวัดพระเสด็จ จารึกนายศรีโยธาราชออกบวช จารึกภาพชาดกในอุโมงค์วัดศรีชุม ๔๘ ภาพ กับจารึกอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก ล้วนเป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย ให้รู้ว่าไทยเป็นประเทศเอกราชมีเอกลักษณ์ของตนเอง และเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นติดต่อกันมานานไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปีมาแล้ว
คำอ่านหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ด้านที่ ๑
พ่อกู ชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสามผู้ญีงโสง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยักเล็ก เมื่อกูขึ้นใหญ่ได้ สิบเก้าเข้า ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด มาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ ขุนสามชนหัวซ้าย ขุนสามชนขับมาหัวขวา ขุนสามชนเกลื่อนเข้า ไพร่ฟ้าหน้าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ๋น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้าง ขุนสามชนตัวชื่อมาสเมือง แพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ูชื่อพระรามคำแหง เพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชนเมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้างได้งวงได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทองกูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพ่อกู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดั่งบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใคร่จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากพลูพ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื้อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นข้าวท่านบ่ใครพีน เห็นสินท่านบ่ใครเดือด คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือก ข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี ในปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว ้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้
ด้านที่ ๒
ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพยสี ใสกินดี ... ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูร ได้สามพันสี่ร้อยวา คนในเมืองสุโขทันนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้าท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐิน เดือนณื่งจิ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัติกฐินเถืงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียง กันแต่อญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้ มีสี่ปากประตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียน ท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้ มีดั่งจักแตก กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม มีปู่ครูนิสัยมุตก์ มีเถร มีมหาเถร เบื้องตะวันตก เมืองสุโขทัยนี้ มีอไรญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำ โอยทานแก่มหาเถร สังฆราชปราชญ์ เรียนจบปิฎกไตรหลวก กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ในกลางอรัญญิก มีพิหารอันณื่งมนใหญ่ สูงงามแก่กม มีพระอัฏฐารศอันณื่ง ลุกยืน เบื้องตะวันโอกเมืองสุโขทัยนี้ มีพิหาร มีปู่ครู มีทะเลหลวง มีป่าหมากป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก มีป่าม่วงมีป่าขาม ดูงามดังแกส้
ด้านที่ ๓
(งแต่)ง เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีตลาดปสาน มีพระอจนะ มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ป่าหมากลาง มีไร่ มีนา มีถิ่นถาน มีบ้านใหญ่บ้านเล็ก เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎีพิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรดีภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย ๑๒๑๔ ศก ปีมะโรง พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัยนี้ ปลูกไม้ตาลนี้ ได้สิบสี่เข้า จึงให้ชั่งพันขดานหิน ตั้งหว่างกลางไม้ตาลนี้ วันเดือนดับ เดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็ม เดือนบ้างแปดวัน ฝูงปู่ครู เถร มหาเถร ขึ้นนั่งเหนือขดานหินสูดธรรมแก่อุบาสก ฝูงท่วยจำศีล ผิใช่วันสูดธรรม พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดานหิน ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุน ฝูงท่วยถือบ้านถือเมือง ครั้นวันเดือนดับเดือนเต็ม ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง เที้ยรย่อมทองงา... (ซ้าย) ขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ไปนบพระ (เถิง) อรัญญิกแล้วเข้ามา จารึกอันณื่ง มีในเมืองชเลียง สถาบกไว้ ด้วยพระศรีรัตนธาตุ จารึกอันณื่ง มีในถ้ำรัตนธาร ในกลวงป่าตาลนี้ มีศาลาสองอัน อันณื่งชื่อศาลาพระมาส อันณื่งชื่อพุทธศานา ขดานหินนี้ ชื่อมนังศิลาบาตร สถาบกไว้นี่ จึ่งทั้งหลายเห็น
ด้านที่ ๔
พ่อขุนพระรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นขุนในเมืองศรีสัชชนาลัยสุโขทัย ทั้งมากกาวลาว แลไทยเมืองใต้หล้าฟ้าฎ... ไทยชาวอูชาวของมาออก ๑๒๐๗ ศกปีกุน ให้ขุดเอาพระธาตุออกทั้งหลายเห็น กระทำบูชาบำเรอแก่พระธาตุได้เดือนหกวัน จึ่งเอาลงฝังในกลางเมืองศรีสัชชนาลัยก่อพระเจดีย์เหนือหกเข้าจึ่งแล้ว ตั้งเวียงผาล้อมพระมหาธาตุ สามเข้าจึ่งแล้ว เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหง หาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ พ่อขุนรามคำแหงนั้นหา เป็นท้าวเป็นพระยาแก่ไทยทั้งหลาย หาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนไทยทั้งหลายให้รู้บุญรู้ธรรมแท้ แต่คนอันมีในเมืองไทยด้วย รู้ด้วยหลวก ด้วยแกล้วด้วยหาญ ด้วยแคะ ด้วยแรง หาคนจักเสมอมิได้ อาจปราบฝูงข้าเสีก มีเมืองกว้างช้างหลาย ปราบเบื้องตะวันออก รอด สรลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา เท้าฝั่งของเถีงเวียงจันทน์เวียงคำเป็นที่แล้ว เบื้(อ)งหัวนอน รอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพรชบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว เบื้องตะวันตก รอดเมืองฉอด เมือง...น หงสาวดี สมุทรหาเป็นแดน เบื้องตีนนอน รอดเมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองน... เมืองพลัว พ้นฝั่งของเมืองชวา เป็นที่แล้ว ปลูกเลี้ยง ฝูงลูกบ้านลูกเมืองนั้น ชอบด้วยธรรมทุกคน
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร. 0-5561-4304 โทรสาร 0-5561-1619
ติดต่อผู้ดูแลเว็บ E-mail : sukhothai@moi.go.th , sukhothai_gov@thaimail.com
http://www.sukhothai.go.th/history/hist_08.htm
พระราชประวัติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
• ราชวงศ์ : สุพรรณบุรี
• ปีที่ครองราชย์ : พ.ศ.1991-2031
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 8 ของอาณาจักรอยุธยา พระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลานานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยา คือ 40 ปี และทรงมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยในฐานะผู้รวบรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอยุธยากับการทรงปฎิรูปการปกครองของอยุธยาด้วยการตั้งระบบศักดินาและการจัดระบบขุนนางให้เป็น 2 ฝ่ายคือ กลาโหมและมหาดไทย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงเป็นโอรสของเจ้าสามพระยา และมีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นพระองค์จึงมีเชื้อสายของฝ่ายอยุธยา(ราชวงศ์สุพรรณบุรี) และราชวงศ์สุโขทัย เมื่อพระธรรมราชาที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัยเสด็จสวรรคต พระบรมไตรโลกนาถเมื่อยังทรงดำรงตำแหน่ง พระราเมศวร พระชนมายุเพียง 7 พรรษา ได้ถูกส่งขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก (ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้น) แทน และเมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระองค์ก็ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอยุธยาเมื่อพระชนม์ 17 พรรษา
ในการรวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอยุธยานั้น พระบรมไตรโลกนาถได้เปรียบเนื่องจากมีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงจากราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นจึงน่าจะมีพระญาติพระวงศ์นั้นทรงช่วยเหลือและเมื่อเจ้าองค์หนึ่งของสุโขทัยหันไปเข้ากับอาณาจักรล้านนา (เชียงใหม่) พระบรมไตรโลกนาถได้ย้ายเมืองหลวงจากอยุธยามาอยู่ที่พิษณุโลกเป็นการชั่วคราวทำให้สามารถปกครองและป้องกันอาณาจักรสุโขทัยได้ง่ายขึ้น
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นมหากษัตริย์ที่ทรงมีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา ในช่วงที่ทรงปกครองอยู่ที่พิษณุโลก พระองค์ได้ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับศาสนาแบบฉบับของพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยคือตามแบบของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ทำให้พระองค์ได้รับการยอมรับและยกย่องจากฝ่ายราชวงศ์สุโขทัย ในปี พ.ศ. 2008 พระองค์ทรงออกผนวชเป็นเวลา 8 เดือน (ตามรอยพระธรรมราชาที่ 1) และทรงให้มีการบูรณะฟื้นฟูวัด เช่น วัดพระศรีมหาธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเมืองพิษณุโลก และทรงให้มีการก่อสร้างปรางค์ที่ วัดจุฬามณี อันเป็นที่ประทับในระหว่างที่ออกผนวช
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีการปฏิรูปการปกครองทำให้เป็นระบบราชการ (เจ้าและขุนนาง)มากขึ้น เป็นการปกครอง ที่เหมาะสมกับการเป็นอาณาจักรใหญ่ อยุธยาเปลี่ยนจากการปกครองที่เรียบง่ายเป็นการปกครองที่มีลักษณะเป็นแว่นแคว้นหรือเมืองในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาตอนต้นๆ มีการแบ่งฝ่ายการปกครองเป็นทหารกับพลเรือน มีตำแหน่งกลาโหม ปกครองฝ่ายทหารและตำแหน่งมหาดไทย ปกครองฝ่ายพลเรือน เป็นการแบ่งและการเพิ่มตำแหน่งขุนนางสูงสุดแต่เดิมมีเพียง 4 ตำแหน่ง (เวียง วัง คลัง นา) ให้กลายเป็น 6 ตำแหน่ง โดย 2 ตำแหน่งใหม่มีฐานะสูงกว่า (เป็นอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีธรรมดา)
อย่างไรก็ตาม บทบาทหน้าที่ของกลาโหมและมหาดไทยอาจจะมิได้หมายความว่าแยกหน้าที่กันอย่างชัดเจน คือ ทหารมีหน้าที่รบ ตรงกันข้ามกับพลเรือนที่ไม่ต้องออกสงครามอย่างที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน ในอดีตนั้นต่างคนต่างมีบทบาททั้งด้านการทหารด้านพลเรือนและด้านอื่นๆ อีกมากมายที่เหมือนกัน หากแต่ต่างกันเฉพาะ “พื้นที่” ที่แบ่งการปกครอง กล่าวคือ กลาโหมผกครองพื้นที่ทางตอนใต้ของเมืองหลวง ส่วนมหาดไทยปกครองพื้นที่ทางตอนเหนือของเมืองหลวง และเมื่อการค้าของอยุธยากับต่างประเทศเจริญรุ่งเรือง “กรมพระคลัง” ที่มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สมบัติของกษัตริย์ ก็มีบาบาทหน้าที่เพิ่มเรื่องการค้าและความสัมพันธ์กับต่างชาติ และกลายเป็นกรมที่มีบทบาทหน้าที่เหมือนกับกลาโหมและมหาดไทย คือ มีพื้นที่หัวเมืองชายฝั่งทะเลอยู่ใต้การปกครอง
นอกจากจะจัดการปกครองดังกล่าว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถยังได้ออกกฎมาย ซึ่งเป็นรากฐานระบบศักดินาของอยุธยา ซึ่งได้ใช้มาเรื่อยจนกระทั้งสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5) กฎหมายสำคัญที่พระองค์ทรงประกาศใช้ก็คือ กฎมณเฑียรบาล พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ซึ่งตามตัวอักษรกฎหมายเหล่านี้กำหนดให้ เจ้า-ขุนนาง-พระสงฆ์-ราษฎร (ไพร่-ทาส) ทุกคนมี “ศักดินา” ประจำตัว ประหนึ่งว่าแต่ละคนมีที่ดินจำนวนหนึ่งตามฐานะสูงต่ำของตน จาก 5-100,000 ไร่
จากกฎหมายของอยุธยาตั้งแต่แรก ถือกันว่าที่ดินนั้นเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน และจะทรงแบ่งให้ทุกคนในพระราชอาณาจักรตามฐานะของบุคคล แต่ก็เชื่อกันว่า “ศักดินา” ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถนั้นมิได้เป็นกฎหมายว่าด้วยการแบ่งสรรที่ดิน (แม้พระมหากษัตริย์จะยืนยันใช้สิทธิความเป็นเจ้าของอยู่ สามารถจะพระราชทานหรือยึดคืนไดก็ตาม) “ศักดินา” ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ จึงเป็นกฎหมายการกำหนดชนชั้นทางชนชั้นของบุคคลมากกว่า กล่าวคือ “ศักดินา” เป็นเครื่องชี้บ่งบอกฐานะอันสูงส่งต่างกันนั้น กำหนดความสำพันธ์ระหว่างบุคคล กำหนดวิถีทางชีวิตกระทั่งการอยู่กินแม้กระทั่งการแต่งตัว การสร้างบ้านเรือน และ “ศักดินา” ก็ยังใช้เป็นเครื่องมือในการปรับ(ไหม) หรือลงโทษทางกฎหมายอีกด้วย
วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ดังนั้น พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า พระสุวรรณเทวีหรือ พระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ดังนั้น พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า พระสุวรรณเทวีหรือ พระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
เมื่อพระองค์มีพระชันษาได้ 9ปี พระเจ้าหงสาวดีได้ขอไปเป็นพระราชบุตรบุญธรรม พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6ปี
เมื่อพระชันษาได้ 15ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยราชการพระบิดา โดยได้เสด็จขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
ขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์
ขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ก็ได้ทรงศึกษาวิชาศิลปศาสตร์ และวิชาพิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์
ยุทธวิธีที่ทรงใช้ เช่น การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีเดินเส้นใน พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ เอกภาพในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม หลักความง่าย ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด
ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐ พระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน
พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไป ปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน
http://kingnaresuanmovie.com/history_thai.php
ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐ พระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน
พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์ เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไป ปราบศัตรูของชาติไทย นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน
http://kingnaresuanmovie.com/history_thai.php
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)